Yamaha Grade Examination System

ไวโอลินเกรด 13-6

ระยะเวลา

เกรด 13-8: 15 นาที, เกรด 7 และ 6: 20 นาที

ผู้ทดสอบจะต้องนำเครื่องดนตรีและอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการแสดงมาด้วยตนเอง

ผู้ทดสอบจะต้องปรับค่าความถี่ของเครื่องดนตรีไว้ที่ A=442Hz ด้วยตนเอง

หากเครื่องดนตรีของผู้ทดสอบเกิดข้อผิดพลาดในขณะแสดง เช่น สายขาด ผู้ทดสอบสามารถใช้เครื่องดนตรีสำรองที่จัดเตรียมไว้ในห้องทดสอบได้ ผู้ทดสอบจะต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนการแสดงด้วยตนเอง

I-I. บทเพลงบังคับ

ผู้ทดสอบจะต้องจัดเตรียม 1 บทเพลง โดยเลือกจากในรายชื่อบทเพลงบังคับที่จัดเตรียมไว้

ขั้นตอน

1. เกรด 13-8: ผู้คุมสอบจะเปิดแบคกิ้งแทรคในส่วนเริ่มต้นซ้ำไปมาเพื่อให้ผู้ทดสอบได้ตั้งค่าระดับเสียงและปรับสมดุลของเสียงให้เหมาะสม

2. ผู้ทดสอบเริ่มต้นแสดง

  • หมายเหตุ:
  • ผู้ทดสอบสามารถดูโน้ตได้ตามความจำเป็น
  • สำหรับเกรด 13-8 ไฟล์แบคกิ้งแทรคจะมีจัดเตรียมไว้ให้ที่ห้องทดสอบ
  • สำหรับเกรด 7 และ 6 ผู้ทดสอบจะต้องแสดงโดยไม่มีเสียงบรรเลงประกอบ
  • สำหรับเกรด 7 และ 6 ผู้ทดสอบไม่จำเป็นต้องเล่นท่อนซ้ำ
  • สำหรับเกรด 7 และ 6 สามารถใช้เทคนิคการจับคันชักและการใช้นิ้วได้หลากหลายรูปแบบ
  • ผู้คุมสอบสามารถสั่งหยุดการแสดงก่อนจบบทเพลงได้

รายชื่อบทเพลงบังคับ

เกรด 13

เล่มที่ 1 - หน่วยที่ 3: Aura Lee (American Folk Song)

เล่มที่ 1 - หน่วยที่ 3: Cantata (J. S. Bach)

เล่มที่ 1 - หน่วยที่ 3: Sonata สำหรับเปียโน คีย์ A Major (W. A. Mozart)

เกรด 12

เล่มที่ 1 - หน่วยที่ 5: Annie Laurie (Scotland Folk Song)

เล่มที่ 1 - หน่วยที่ 5: Ode to Joy (ไวโอลิน I) (L. v. Beethoven)

เล่มที่ 1 - หน่วยที่ 6: Suite BWV.822 (ไวโอลิน I) (J. S. Bach)

เกรด 11

เล่มที่ 2 - หน่วยที่ 1: Bourrée (G. F. Händel)

เล่มที่ 2 - หน่วยที่ 2: On Wings of Song (F. Mendelssohn)

เล่มที่ 2 - หน่วยที่ 2: Gavotte (J. S. Bach)

เกรด 10

เล่มที่ 2 - หน่วยที่ 4: La Follia (A. Corelli)

เล่มที่ 2 - หน่วยที่ 6: Gavotte (F. J. Gossec)

เล่มที่ 2 - หน่วยที่ 6: Bourrée (J. S. Bach)

เกรด 9

เล่มที่ 3 - หน่วยที่ 1: Le Cygne (C. C. Saint-Saëns)

เล่มที่ 3 - หน่วยที่ 2: Symphony No.6 “Pathetique” (P. I. Tchaikovsky)

เล่มที่ 3 - หน่วยที่ 3: Londonderry Air (Irish Folk Song)

เกรด 8

เล่มที่ 3 - หน่วยที่ 4: Sicilienne Op.78 (G. U. Fauré)

เล่มที่ 3 - หน่วยที่ 5: Andantino (ไวโอลิน I) (J. P. E. Martini)

เล่มที่ 3 - หน่วยที่ 6: Salut d’amour (E. Elgar)

เกรด 7

Sonata No.4 คีย์ D Major Op.1-13 กระบวนที่ 1 และ 2* (G. F. Händel)

Sonata คีย์ G Minor กระบวนที่ 1 และ 2* (H. Eccles)

Concerto No.1 คีย์ A Minor BWV.1041 กระบวนที่ 1* (J. S. Bach)

เกรด 6

Sonata No.5 คีย์ F Major “Spring” Op.24, กระบวนที่ 1* (L. v. Beethoven)

Concerto No.23 คีย์ G Major กระบวนที่ 1* (G. B. Viotti)

Concerto No.2 คีย์ E Major BWV.1042 กระบวนที่ 1* (J. S. Bach)

*โปรดดูโน้ตในไฟล์ PDF

I-II. บทเพลงเลือกเสรี (ยกเว้นเกรด 13 และ 12)

ผู้ทดสอบจะต้องจัดเตรียมบทเพลงเลือกเสรี 1 บทเพลง

ข้อควรพิจารณาในการเลือกบทเพลงเลือกเสรี:

บทเพลงเลือกเสรีต้องมีระดับความยากเทียบเท่ากับบทเพลงบังคับและบทเพลงตัวอย่างตามเกรดของนักเรียน (ดูรายการด้านล่าง)

ผู้ทดสอบสามารถเลือกบทเพลงเลือกเสรีได้จากในตำราเรียน เกรด 11-8) หรือจากในรายชื่อบทเพลงบังคับที่มีจัดเตรียมไว้ให้ แต่จะต้องไม่ซ้ำกับบทเพลงบังคับที่ใช้แสดง

ขั้นตอน

1. ผู้ทดสอบจะต้องแจ้งผู้คุมสอบว่าต้องการแสดงโดยเปิดแบคกิ้งแทรคหรือไม่

2. หากผู้ทดสอบต้องการแสดงโดยเปิดแบคกิ้งแทรค ผู้คุมสอบจะเปิดแบคกิ้งแทรคในส่วนเริ่มต้นซ้ำไปมาเพื่อให้ผู้ทดสอบได้ตั้งค่าระดับเสียงและปรับสมดุลของเสียงให้เหมาะสม

3. ผู้ทดสอบเริ่มต้นแสดง

  • หมายเหตุ:
  • ผู้ทดสอบสามารถนำโน้ตเพลงของบทเพลงที่จะใช้ทดสอบมาได้
  • ผู้คุมสอบสามารถขอเรียกดูโน้ตเพลงที่ผู้ทดสอบนำมาได้
  • ผู้ทดสอบสามารถดูโน้ตได้ตามความจำเป็น
  • ผู้ทดสอบสามารถเลือกได้ว่าต้องการแสดงโดยเปิดแบคกิ้งแทรคหรือไม่
    • a) หากผู้ทดสอบเลือกบทเพลงที่มีอยู่ในตำราเรียน จะมีแบคกิ้งแทรคจัดเตรียมไว้ให้ที่ห้องทดสอบ
    • b) หากผู้ทดสอบเลือกบทเพลงที่ไม่มีอยู่ในตำราเรียนและต้องการเปิดแบคกิ้งแทรค ผู้ทดสอบต้องจัดเตรียมไฟล์ MP3 หรือ MIDI มาด้วยตนเอง
  • ผู้ทดสอบไม่จำเป็นต้องเล่นท่อนซ้ำสำหรับบทเพลงประพันธ์ที่ไม่มีอยู่ในตำราเรียน
  • ผู้คุมสอบสามารถสั่งหยุดการแสดงก่อนจบบทเพลงได้

ตัวอย่างบทเพลงเลือกเสรี

เกรด 11

Minuet คีย์ G Major BWV.Anh.114 (J. S. Bach)

Minuet คีย์ G Major BWV.Anh.116 (J. S. Bach)

Waltz Op.39-15 *คีย์ G Major (J. Brahms)

เกรด 10

Minuet (L. Boccherini)

Minuet คีย์ G Major WoO.10-2 (L. v. Beethoven)

Gavotte en Rondeau คีย์ G Minor BWV.822 (J. S. Bach)

Melody คีย์ F Op.3-1 (A. Rubinstein)

เกรด 9

Serenade Op.3-5 (R. Hoffstetter (Haydn))

Minuet K.64 (W. A. Mozart)

Gavotte en Rondeau *คีย์ A Minor (J. B. Lully)

La Cinquantaine (G. Marie)

Concerto คีย์ A Minor Op.3 No.6 กระบวนที่ 1 (A. Vivaldi)

Concerto คีย์ A Minor Op.3 No.6 กระบวนที่ 3 (A. Vivaldi)

เกรด 8

Sonata No.3 คีย์ F Major Op.1-12 กระบวนที่ 1 และ 2 (G. F. Handel)

Concerto สำหรับไวโอลิน 2 ตัว คีย์ D Minor BWV.1043 กระบวนที่ 1 (J. S. Bach)

Concerto No.5 คีย์ D Major Op.22 กระบวนที่ 1 (F. Seitz)

Concerto No.5 คีย์ D Major Op.22 กระบวนที่ 3 (F. Seitz)

Concerto No.2 คีย์ G Major Op.13 กระบวนที่ 3 (F. Seitz)

เกรด 7

Tempo di Minuetto (ตามสไตล์ของ Pugnani) (F. Kreisler)

Humoresque Op.101 (A. Dvořák)

Allegro คีย์ G Major Op.1-10 (J. H. Fiocco)

Cavatina Op.85-3 (J. Raff)

Sicilienne Op.78 (G. Faurè)

Après Un Rêve Op.7-1 (G. Faurè)

เกรด 6

Meditation from “Thais” (J. Massenet)

Partita No.3 คีย์ E Major BWV. 1006, Gavotte en Rondeau (J. S. Bach)

Romance No.2 คีย์ F Major Op.50 (L. v. Beethoven)

Cantabile (N. Paganini)

Souvenir d'un Lieu Cher [Mélodie] Op.42-3 (P. I. Tchaikovsky)

*ต้องใช้คีย์นี้

ผู้คุมสอบเลือกให้ผู้ทดสอบเล่นแบบดูโน้ตได้ 1 บทเพลง

ขั้นตอน

1. ผู้ทดสอบจะได้เห็นโน้ตเพลงของบทเพลงที่จะใช้ทดสอบ

2. ผู้ทดสอบมีเวลา 30 วินาทีในการดูโน้ตเพลง

3. ผู้ทดสอบเริ่มต้นแสดงหลังจากผู้คุมสอบให้สัญญาณ

  • หมายเหตุ:
  • ไม่อนุญาตให้ฝึกซ้อมและแสดงท่าทางต่างๆ เช่น เล่นแบบไม่มีเสียง ฝึกใช้นิ้ว เป็นต้น ในช่วงเวลาก่อนเริ่มแสดง

ตัวอย่าง

ขั้นตอน

1. ผู้คุมสอบเลือกให้ผู้ทดสอบเล่นจากการฟัง 1 บทเพลง

2. ผู้คุมสอบจะแจ้งให้ผู้ทดสอบทราบถึงคีย์และจังหวะ (time signature) ด้วยวาจาก่อนเริ่มแสดง

3. ผู้คุมสอบเล่นสาธิต (4 บาร์)

4. ผู้คุมสอบจะแบ่งเล่น 2 รอบ รอบละ 2 บาร์

5. ผู้ทดสอบเริ่มต้นเล่น 2 บาร์ หลังจากผู้คุมสอบให้สัญญาณ

ตัวอย่าง

ผู้ทดสอบจะต้องเล่น 1 สเกล (เกรด 13, 12) และ 2 สเกล (เกรด 11, 10) โดยใช้รูปแบบการจับคันชักที่ได้รับ และไม่สามารถดูโน้ตเพลงได้  

ขั้นตอน

1. ผู้คุมสอบจะให้ข้อมูลผู้ทดสอบเกี่ยวกับ คีย์ เรนจ์ และโน้ตเริ่มต้นของสเกลที่ใช้ทดสอบ

2. ผู้ทดสอบเริ่มต้นแสดง

3. ผู้คุมสอบจะเลือกรูปแบบการจับคันชักมา 1 รูปแบบ และสาธิตให้ผู้ทดสอบดู

4. เกรด 13 และ 12: ผู้ทดสอบจะต้องเล่นสเกลเดียวกันและด้วยคีย์เดียวกันตามขั้นตอนที่ 1 โดยใช้รูปแบบการจับคันชักที่ได้รับ

  เกรด 11 และ 10: ผู้ทดสอบจะต้องเล่นสเกลเดียวกันและด้วยคีย์เดียวกันตามขั้นตอนที่ 1 โดยใช้รูปแบบการจับคันชักที่ได้รับ

  • หมายเหตุ:
  • ผู้ทดสอบไม่สามารถดูโน้ตเพลงในขณะสอบได้
  • โน้ตสุดท้ายสำหรับขึ้น/จบบทเพลงอาจเล่นให้นานขึ้นกว่าโน้ตตัวอื่นๆ ได้
  • จังหวะที่กำหนดไว้ในโน้ตคือจังหวะที่แนะนำ แต่ผู้คุมสอบจะประเมินความสามารถในการเล่นด้วยจังหวะที่คงที่
  • ผู้ทดสอบต้องเล่นสเกลโดยไม่มี Vibrato

ผู้คุมสอบจะเลือกให้ผู้ทดสอบเล่นสเกล 2 ท่อน และ Arpeggio 1 ท่อน โดยไม่สามารถดูโน้ตเพลงได้

ขั้นตอน

1. ผู้คุมสอบจะให้ข้อมูลผู้ทดสอบเกี่ยวกับ คีย์ เรนจ์ และโน้ตเริ่มต้นของสเกลที่ใช้ทดสอบ

2. ผู้ทดสอบเริ่มต้นแสดง

3. ผู้คุมสอบจะเลือก Arpeggio มา 1 ท่อน ที่ใช้คีย์เดียวกันตามขั้นตอนที่ 1

4. ผู้ทดสอบเริ่มต้นแสดง

  • หมายเหตุ:
  • ผู้ทดสอบไม่สามารถดูโน้ตเพลงในขณะสอบได้
  • โน้ตสุดท้ายสำหรับขึ้น/จบบทเพลงอาจเล่นให้นานขึ้นกว่าโน้ตตัวอื่นๆ ได้
  • จังหวะที่กำหนดไว้ในโน้ตคือจังหวะที่แนะนำ แต่ผู้คุมสอบจะประเมินความสามารถในการเล่นด้วยจังหวะที่คงที่
  • ผู้ทดสอบต้องเล่นสเกลโดยไม่มี Vibrato