พื้นฐาน เกรด 5-3

1. การลงทะเบียน

แสดงใบตอบรับการทดสอบที่เคาน์เตอร์แผนกต้อนรับ

2. การทดสอบภาคปฏิบัติ

3. การทดสอบแบบข้อเขียน

ระยะเวลา

ทดสอบการฟัง

เกรด 5, 4 : 20 นาที

เกรด 3 : 30 นาที

ทดสอบแบบข้อเขียน

เกรด 5 : 1 ชั่วโมง

เกรด 4 : 2 ชั่วโมง

เกรด 3 : 2 ชั่วโมง และ 30 นาที

  • หมายเหตุ:
  • ในห้องทดสอบ ผู้ทดสอบต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้คุมสอบ
  • เวลาในการเริ่มทดสอบภาคปฏิบัติและทดสอบแบบข้อเขียนจะระบุอยู่ในใบตอบรับการทดสอบ ผู้สมัครต้องยืนยันเวลาเริ่มสอบของแต่ละการทดสอบ
  • หลังการทดสอบทั้งหมด ผู้สมัครจะต้องยื่นใบตอบรับการทดสอบให้กับผู้คุมสอบ หรือผู้ดูแลการสอบ หากผู้สมัครทำข้อสอบเสร็จก่อนเวลา ผู้สมัครสามารถออกจากห้องสอบได้ แต่ไม่สามารถกลับเข้ามาในห้องสอบได้อีก
  • ผู้สมัครที่จะทำการทดสอบแบบข้อเขียน ต้องนำดินสอมาเอง
  • ในห้องทดสอบ ผู้ทดสอบต้องปิดโทรศัพท์มือถือ

I-I. Solfege

(A) การร้องเมโลดี้

เนื้อหาและระดับ

เกรด 5

มีเมโลดี้ให้ประมาณ 8 บาร์

อาจมีเครื่องหมายแปลงเสียงง่ายๆ รวมอยู่ด้วย

เกรด 4

มีเมโลดี้ให้ประมาณ 8-16 บาร์

อาจมีการปรับเสียงชั่วคราว

เกรด 3

มีเมโลดี้ให้ประมาณ 12-24 บาร์

รวมอยู่กับการปรับเสียงชั่วคราว

ขั้นตอน

ผู้สมัครสามารถร้องแบบ solfege (ในรูปแบบ fixed "Do" หรือ movable "Do"), อักษรแทนเสียงสระ, ลา-ลา-ลา หรืออื่นๆ ได้

ระหว่างร้อง ผู้สมัครสามารถยืนหรือนั่งที่เปียโนก็ได้

หลังจากได้รับสัญญาณจากผู้คุมสอบ ผู้ทดสอบจะมีเวลา 15 วินาที ในการดูตัวอย่าง

ผู้ทดสอบสามารถเล่นคอร์ดโทนิคหรือโน้ตตัวแรกของเมโลดี้เพื่อเช็คเสียงก่อนอ่านโน้ตที่กำหนดหรือก่อนร้อง (ครั้งเดียวเท่านั้น)

หัวข้อที่ใช้ในการประเมิน

ความสามารถในการร้องตามเท็มโปที่กำหนด ด้วยพิทช์และจังหวะที่ถูกต้อง

ความสามารถในการร้องตามสำเนียงทางดนตรีที่อธิบายในโน้ตเพลง

(B) การร้องเมโลดี้โดยไม่มีดนตรีประกอบ

เนื้อหาและระดับ

เกรด 5

มีเมโลดี้มาให้ประมาณ 12-16 บาร์ พร้อมชื่อคอร์ด

คอร์ดอาจประกอบด้วย: major, minor, ดอมิแนนท์ที่ 7 (รวมถึงดอมิแนนท์ลำดับที่สอง)

เกรด 4

มีเมโลดี้มาให้ประมาณ 12-16 บาร์ พร้อมชื่อคอร์ด

คอร์ดอาจประกอบด้วย: diminished, augmented, minor 7th♭5(-5) ฯลฯ

เกรด 3

มีเมโลดี้มาให้ประมาณ 12-24 บาร์ พร้อมชื่อคอร์ด

สามารถใช้ได้ทุกคอร์ด

ขั้นตอน

ผู้สมัครสามารถร้องแบบ solfege (ในรูปแบบ fixed "Do" หรือ movable "Do"), อักษรแทนเสียงสระ, ลา-ลา-ลา หรืออื่นๆ ได้

ผู้ทดสอบจะต้องร้องเมโลดี้ที่กำหนดในขณะที่เล่นเปียโนที่เหมาะสมคลอไปด้วยตามคอร์ดที่กำหนด

ผู้ทดสอบไม่สามารถเล่นเมโลดี้ด้วยเปียโนได้

หลังจากได้รับสัญญาณจากผู้คุมสอบ ผู้ทดสอบจะมีเวลา 15 วินาที ในการดูตัวอย่าง

ผู้ทดสอบสามารถเล่นคอร์ดโทนิคหรือโน้ตตัวแรกของเมโลดี้เพื่อเช็คเสียงก่อนอ่านโน้ตที่กำหนดหรือก่อนร้อง (ครั้งเดียวเท่านั้น)

ในกรณีที่หยุดพักสองหรือสองบาร์แรก ให้เล่นอินโทรหรือจังหวะประกอบก่อนร้อง

หัวข้อที่ใช้ในการประเมิน

ความสามารถในการร้องตามเท็มโปที่กำหนด ด้วยพิทช์และจังหวะที่ถูกต้อง

ความสามารถในการเล่นทางคอร์ด ตำแหน่งคอร์ด และสไตล์ดนตรีประกอบที่เหมาะสมตามชื่อคอร์ดที่กำหนด

ความสามารถในการร้องด้วยสำเนียงทางดนตรี (Articulation) ที่อธิบายอยู่ในโน้ตเพลง โดยต้องคำนึงถึงความบาลานซ์ระหว่างเพลงและดนตรีประกอบ

I-II. การเล่นคีย์บอร์ด

(A) ดนตรีประกอบ

เนื้อหาและระดับ

เกรด 5

มีการกำหนดเมโลดี้ง่ายๆ 8 บาร์

อาจสามารถเล่นได้เฉพาะไตรแอดหลักและดอมิแนนท์ที่ 7

ต้องมีไลน์เบสสำหรับจุดพัก (Cadence) ที่เหมาะสม

เกรด 4

มีเมโลดี้ที่รวมโทนเสียงที่ไม่ใช่ฮาร์โมนิกให้ประมาณ 8 บาร์

ต้องเลือกไลน์เบสที่เพียงพอ

ต้องมีไตรแอดลำดับที่สอง เช่น II, VI

เกรด 3

มีเมโลดี้ให้ประมาณ 12-16 บาร์

ต้องมีไตรแอดลำดับที่สองและดอมิแนนท์ลำดับที่สอง

อาจมีการปรับเสียงรวมอยู่ด้วย

ขั้นตอน

ลำดับแรก ให้เล่นเฉพาะเมโลดี้ โดยคำนึงถึงคอร์ดที่เหมาะสม

จากนั้น ให้เล่นเมโลดี้พร้อมดนตรีประกอบที่เหมาะสม

จะไม่มีให้ดูตัวอย่างการเล่น

หัวข้อที่ใช้ในการประเมิน

ความสามารถในการเล่นคอร์ดที่ถูกต้องและทางเดินคอร์ดที่เหมาะสม

ความสามารถในการเล่นดนตรีประกอบเมโลดี้ในสไตล์และตำแหน่งที่เหมาะสม

ความสามารถในการเล่นตามสำเนียงทางดนตรีที่อธิบายในโน้ตเพลง

(B) การทรานสโพส

เนื้อหาและระดับ

เกรด 5 และ 4

มีการกำหนดบทเพลงที่มีประมาณ 8 บาร์

อาจสามารถเล่นได้เฉพาะไตรแอดหลักและดอมิแนนท์ที่ 7

ต้องมีไลน์เบสสำหรับจุดพัก (Cadence) ที่เหมาะสม

การทรานสโพสอาจประกอบด้วย: Major 2nd, minor 2nd, perfect 4th หรือ perfect 5th ขึ้นหรือลง

เกรด 3

มีการกำหนดบทเพลงที่มีประมาณ 8-12 บาร์

การทรานสโพสอาจประกอบด้วย: นอกเหนือจากคู่เสียงที่กำหนดในเกรด 5 & 4, major 3rd และ minor 3rd ขึ้นหรือลง

ขั้นตอน

เล่นโน้ตเพลงที่กำหนดให้ก่อน

จากนั้น ให้ทรานสโพสและเล่นตามที่ระบุ

จะไม่มีให้ดูตัวอย่างการเล่น

หัวข้อที่ใช้ในการประเมิน

ความสามารถในการทรานสโพสเพลงเป็นคีย์ตามคำสั่งและเล่นด้วยโน้ต พิทช์ และจังหวะที่ถูกต้อง

ความสามารถในการเล่นเท็มโปที่ระบุ

ความสามารถในการเล่นตามสำเนียงทางดนตรีที่อธิบายในโน้ตเพลง

II-I. ทดสอบการฟัง:

การเขียนเมโลดี้ตามคำบอกพร้อมคอร์ดที่บรรเลงประกอบด้วยอิเล็กโทน

ความยาว

เกรด 5,4: 4 บาร์ (อาจเริ่มด้วยการอัพบีท)

เกรด 3: 8 บาร์ (อาจเริ่มด้วยการอัพบีท)

คีย์ / โน้ตโทนิค

คีย์และโน้ตโทนิคจะถูกกำหนดไว้ให้ล่วงหน้า

ไม่มีการระบุเครื่องหมายกำหนดจังหวะมาให้

*ผู้ทดสอบต้องระบุเครื่องหมายกำหนดจังหวะโดยการฟังบทเพลงนั้น

การประสาน

ผู้ทดสอบต้องเขียนส่วนของเบส และชื่อคอร์ด หรือหมายเลขคอร์ด

- เกรด 5: อาจรวมไตรแอดหลัก, ดอมิแนนท์ที่ 7, I2 (การพลิกกลับโน้ตที่ 2 ของ I)

- เกรด 4: คอร์ดสำหรับเกรด 5 และไตรแอดลำดับที่สอง, การพลิกกลับโน้ตแบบง่าย (I1, II1, ฯลฯ)

- เกรด 3: คอร์ดสำหรับเกรด 5 และ 4 และดอมิแนนท์ลำดับที่ 2 7ths, ดิมินิช 7ths, คอร์ดอ๊อกเมนเต็ด ฯลฯ และการพลิกกลับโน้ตที่หลากหลาย

ขั้นตอน

เกรด 5 และ 4

ต้องเล่นบทเพลงทั้งเพลง 5 ครั้ง โดยเว้นระยะ 30 วินาที ระหว่างการเล่นแต่ละครั้ง

เกรด 3

ต้องเล่นบทเพลงตามขั้นตอนต่อไปนี้ โดยเว้นช่วงประมาณ 20 วินาที ในแต่ละขั้นตอน

1. บทเพลงทั้งเพลง (8 บาร์)

2. 4 บาร์แรก

3. 4 บาร์แรก

4. บทเพลงทั้งเพลง

5. 4 บาร์สุดท้าย

6. 4 บาร์สุดท้าย

7. บทเพลงทั้งเพลง

  • หมายเหตุ:
  • ผู้ทดสอบสามารถเขียนตามคำบอกลงบนกระดาษร่างที่มีให้ได้ จากนั้น ให้เขียนคำตอบใหม่ลงบนกระดาษข้อสอบ
  • ผู้ทดสอบไม่ได้รับอนุญาตให้นำกระดาษฉบับกลับออกมา

เกรด 5 และ 4

ก่อนการแสดงครั้งแรก จะมีการระบุโน้ตหลักของคีย์ที่กำหนดด้วยเสียงเปียโน

ก่อนการเล่นแต่ละครั้งจะมีเสียงสัญญาณสั้นๆ ดังขึ้น โดยครั้งแรก จะมีเสียงสัญญาณหนึ่งครั้ง และการเล่นครั้งที่ห้าจะเริ่มขึ้นหลังจากเสียงสัญญาณดังขึ้นห้าครั้ง

คอร์ดและเบสจะถูกเล่นโดยเครื่องสายหรือฮอร์น และเสียงเครื่องสาย ส่วนเมโลดี้จะเล่นโดยเครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องทองเหลือง หรืออื่นๆ..

หากไม่ได้ระบุเครื่องหมายกำหนดจังหวะ คำตอบอาจเป็น 2 บาร์ หรือ 8 บาร์ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น 4 บาร์

เมื่อตอบด้วยสัญลักษณ์ฮาร์โมนิค สามารถระบุ VI, II ฯลฯ เป็น VIm, Iim ได้ ไม่จำเป็นต้องระบุการพลิกกลับ (inversion) (I2, II1, GonC ฯลฯ)

เกรด 3

ก่อนการแสดงครั้งแรก จะมีการระบุโน้ตหลักของคีย์ที่กำหนดด้วยเสียงเปียโน

สัญญาณสำหรับเริ่มการแสดงจะเหมือนกันทั้งเจ็ดครั้ง ซึ่งต่างจากของเกรด 5 และ 4

คอร์ดและเบสจะถูกเล่นโดยเครื่องสายหรือฮอร์น และเสียงเครื่องสาย ส่วนเมโลดี้จะเล่นโดยเครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องทองเหลือง หรืออื่นๆ..

หากไม่ได้ระบุเครื่องหมายกำหนดจังหวะ คำตอบอาจเป็น 2 บาร์ หรือ 8 บาร์ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น 4 บาร์

เมื่อตอบด้วยสัญลักษณ์ฮาร์โมนิค สามารถระบุ VI, II ฯลฯ เป็น VIm, Iim ได้ ไม่จำเป็นต้องระบุการพลิกกลับ (inversion) (I2, II1, GonC ฯลฯ)

มีหลายวิธีการในการระบุการเปลี่ยนคอร์ดสำหรับสัญลักษณ์ฮาร์โมนิค ดังนั้น หากเป็นไปได้ ขอแนะนำให้คุณใช้ชื่อคอร์ดในเกรด 3

II-II. ทฤษฎี (เกรด 5)/ทฤษฎีและเสียงประสาน 4 ส่วน (เกรด 4)/การเรียบเรียงเพลง (เกรด 3)

เกรด 5: ทฤษฎีดนตรี

ความรู้ทั่วไปทางดนตรี ประกอบด้วยสเกล, คอร์ด, จังหวะ, คู่เสียง, คำศัพท์ที่ใช้บ่อย และประวัติดนตรี ฯลฯ

ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี

การระบุคีย์ของท่อนเพลงที่กำหนด

เกรด 4: ทฤษฎีดนตรีเสียงประสาน 4 ส่วน

นอกเหนือจากหัวข้อต่างๆ ในเกรด 5 แล้ว ยังมีการอ่านโน้ตรวมถึงการทรานสโพสเครื่องดนตรี และกุญแจโด ฯลฯ ด้วย

เสียงประสาน 4 ส่วนประกอบด้วยการพลิกกลับโน้ตและจุดพักแบบง่ายๆ

เกรด 3: การเรียบเรียงเพลงเป็นคอรัส Mixed Chorus

เรียบเรียงเพลงพื้นบ้านที่มีชื่อเสียง, เพลงสำหรับเด็ก, เพลงยอดนิยม ฯลฯ เป็นบทเพลงที่ผสมคอรัส 4 เสียง โดยไม่มีดนตรีประกอบ

ไม่กำหนดความยาว สไตล์ และสัญลักษณ์

แม้ว่าสไตล์เสียงประสาน 4 ส่วน จะเป็นพื้นฐานที่จำเป็น แต่ผู้ทดสอบสามารถใช้สไตล์การเรียบเรียงดนตรีแบบอื่นได้

II-II. ทางเดินคอร์ด

เกรด 5

(A) ทางเดินคอร์ด

- เล่นชื่อคอร์ดและไลน์เบสเป็นเมโลดี้ที่กำหนด

- คอร์ดที่จะใช้ได้แก่: ไตรแอดหลัก, ดอมิแนนท์ที่ 7 และไตรแอดลำดับที่สอง ผู้ทดสอบสามารถใช้คอร์ดอื่นนอกเหนือจากที่ระบุข้างต้นได้

(B) เคาน์เตอร์ไลน์

- เล่นเคาน์เตอร์ไลน์* ตามเมโลดี้ที่กำหนดพร้อมชื่อคอร์ด

เกรด 4

(A) ทางเดินคอร์ด

- เล่นชื่อคอร์ดที่เหมาะกับเมโลดี้ที่กำหนด

- คอร์ดที่จะใช้นอกเหนือจากที่ใช้ในเกรด 5 ได้แก่: ดอมิแนนท์ลำดับที่สอง, โน้ตผ่าน ฯลฯ

(B) ไลน์เบส

- มีไลน์เบสหรือดนตรีประกอบที่เหมาะสมกับเมโลดี้ที่กำหนดให้พร้อมชื่อคอร์ด

(C) เคาน์เตอร์ไลน์

- เล่นเคาน์เตอร์ไลน์* ตามเมโลดี้ที่กำหนดพร้อมชื่อคอร์ด

เกรด 3

(A) ทางเดินคอร์ด

- เล่นชื่อคอร์ดและไลน์เบสเป็นเมโลดี้ที่กำหนด

(B) การแต่งทำนองสั้นๆ

- แต่งเมโลดี้ที่ต่อเนื่องจากทำนองสั้นๆ ที่กำหนดโดยใช้คอร์ดและบาร์ที่ระบุ

(C) Obligato และดนตรีประกอบ

- เล่น Obligato และไลน์เบสเป็นเมโลดี้ที่กำหนดพร้อมชื่อคอร์ด

*เบสิกไลน์สำหรับเมโลดี้เคาน์เตอร์เรียกว่า “เคาน์เตอร์ไลน์” ค่าโน้ตของเคาน์เตอร์ไลน์ตามด้วยคอร์ดที่ปรากฏ

When the Saints Go Marching in