CX ซีรีส์

แผนกออกแบบเปียโนยูทากะ มัทซูกิ

The aim of the CX Series: A bright sound that sings

เรามีจุดประสงค์ 3 อย่างในการออกแบบซีรีส์ CX ใหม่ คือ การ support ค้ำยันที่แข็งแรงสำหรับก้านยึด soundboard ที่สามารถสั่นสะเทือนได้อย่างอิสระมากที่สุด และโทนเสียงที่ตรงกับทิศทางของเสียงที่ผลิตออกมาจากตัวของเครื่องดนตรี ทิศทางที่ว่านี้มีรากฐานแบบเดียวกันกับตัวคอนเสิร์ต แกรนด์ CFX อันโดดเด่น ของยามาฮ่า ในความจริงแล้ว จะพูดได้ว่าเครื่องดนตรีเหล่านี้ถูกพัฒนาจากแนวคิดแบบเดียวกัน

สำหรับ C3X และรุ่นที่สูงกว่า – ด้วยรูปแบบที่ใหญ่กว่าซึ่งต้องการระดับเสียงแบบเฉพาะ – เราพัฒนาความแน่นหนาของคานยึดเพื่อให้มีการยึดที่เสถียร และสร้างรูปแบบที่ทำให้ soundboard อยู่เหนือตัวยึดเพื่อการสั่นไหวได้อย่างอิสระ สำหรับด้านเสียง เราใช้สาย string ชนิดใหม่และทดสอบคุณภาพของผ้าสักหลาดหัวค้อนอย่างระมัดระวัง

จุดมุ่งหมายของเราคือการสร้างเสียงที่สามารถ “เปล่งร้อง” ได้อย่างสดใส มุมมองที่โดดเด่นของซีรีส์ CX คือการเน้นไปที่การประยุกต์ใช้งานที่มีความสำคัญต่อเปียโน เช่น การสร้าง soundboard ง ทำให้มีโทนเสียงเกิดขึ้น และภาพลักษณ์ภายนอกของเครื่องดนตรี ในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา ที่มีเปียโนจากยามาฮ่ามีการเปลี่ยนแปลง ซีรีส์นี้มีการนำเสนอการพัฒนาที่กว้างที่สุด และผลลัพธ์ที่ออกมาคือจิตวิญญาณของดนตรีในเปียโนเหล่านี้ถูกพัฒนาไปสู่ความยิ่งใหญ่สูงสุด

เราต้องการสร้าง soundboard ที่ต้องการร้องเพลงและผลิตเสียงได้

เช่นเดียวกับซีรีส์ CF งานวิจัยของเราเน้นไปที่การควบคุมแรงกดดันภายใน soundboard และเราสามารถสร้างความก้าวหน้าที่สำคัญได้ ผลลัพธ์เสียงคือปฏิกิริยาที่ไว โทนเสียงสว่าง และการผสานเสียงที่ใสสะอาด เราเชื่อว่าการพัฒนาปฏิกิริยาของ soundboard นั่นคือการพัฒนาประสิทธิภาพของรังสีอะคูสติก จะทำให้ได้คุณภาพสูงสุด และทำให้มีช่องเสียงในการแสดงอารมณ์ที่กว้างขึ้น

โดยพื้นฐานแล้ว เราต้องการสร้างเครื่องดนตรีที่พร้อมเปล่งเสียงร้องและส่งเสียงออกไป มากกว่าเครื่องดนตรีที่คุณต้องหาทางทำให้เสียงออกมา เราต้องการสร้างเปียโนพร้อม soundboard และตัวเครื่องที่อยากเปล่งเสียงจริงๆ นั่นทำให้ soundboard นี้ พร้อมโครงสร้างใหม่ของมันตอบสนองดีกับการป้อนสิ่งต่างๆ ได้ดี และเราเชื่อว่าจะสามารถทำให้มีช่องเสียงในการแสดงอารมณ์ที่กว้างขึ้นได้อีกในการตอบสนอง

สาย Strings ที่ให้เสียงประสานอย่างบริสุทธิ ผ้าสักหลาดหัวค้อนพร้อมโทนเสียงหนักแน่น

ขั้นตอนต่อไป เราต้องตัดสินใจว่าโทนเสียงแบบไหนที่เราจะมอบให้กับตัว “เปล่งเสียง”นี้ และ soundboard นี้พร้อมการตอบรับที่ยอดเยี่ยม ปัจจัยหลัก 2 อย่างในเสียงคือสาย Strings และหัวค้อน สำหรับซีรีส์นี้ เราเลือกเส้นเสียง (สาย) Strings ที่มาพร้อมเสียงแทรกที่งดงาม เสียงประสานที่ใส และโทนเสียงที่มีความเสถียร เราใช้ผ้าสักหลาด ที่เราหมายถึง “ผ้าดิบ” และสร้างหัวค้อนเปียโนในยามาฮ่า ผ้าสักหลาดที่ใช้ในซีรีส์ CX ถูกตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง ทำให้ได้โทนเสียงที่ลึกแบบเต็มเสียง การผสานกันระหว่างเส้นเสียงและผ้าสักหลาดหัวค้อนทำให้เกิดการพัฒนาที่โดดเด่นในเปียโนซีรีส์ CX

นักออกแบบได้รับแรงบันดาลใจอย่างต่อเนื่องจากความต้องการที่จะสร้างเครื่องดนตรีให้ดีขึ้นอีก

เปียโนนั้นเป็นระบบที่มีความซับซ้อนอย่างสูง ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยส่วนประกอบมากมาย นอกจากนี้ เสียงของเปียโนจะเปลี่ยนแปลงโดยซี่ไม้หลากขนาดและวัสดุธรรมชาติซึ่งถูกนำมาใช้สร้าง และจากเงื่อนไขในการเล่น – แม้หน้าฝนก็ยังสามารถเปลี่ยนเสียงเปียโนได้ เสียงเปียโนยังสามารถเปลี่ยนไปตามคนที่ปรับระดับเสียงอีกด้วย การออกแบบเครื่องดนตรีที่มีความละเอียดอ่อนอย่างเปียโน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้โดยโองประกอบมากมาย กุญแจสำคัญจึงเป็นการลดผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม ดังนั้น การเข้าใจวิธีจัดการกับปัจจัยต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เช่นเดียวกับทักษะการสร้างและช่างฝีมือ เพื่อให้เราสร้างเครื่องดนตรีที่ไม่ปรวนแปรได้ไม่เหมือนใคร

มันเป็นสิ่งสำคัญเช่นกันที่จะประเมินผลเปียโนให้ถูกต้องในระหว่างขั้นตอนการพัฒนา นี่ไม่ใช่สิ่งที่เราทำด้วยตัวเอง แต่เราให้นักเล่นเปียโนมากประสบการณ์มาลองเล่นและเสนอความคิดเห็นให้เรา ซึ่งทำให้เรา ในฐานะผู้พัฒนาเห็นบางมุมที่เราไม่ได้คำนึงถึงมาก่อน เราจึงเน้นไปที่การเก็บข้อมูลเหล่านี้ การเกิดข้อผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้เปียโนที่มีจุดเด่นมากมายได้รับการประเมินผลแย่ได้ในบางครั้ง ในการที่จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดนั้น ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีความสามารถทางเทคนิค เพื่อจะได้รับผลลัพธ์แบบเดียวกันจากขั้นตอนการผลิต – ไม่ว่าจะต้องพยายามให้เสร็จสมบูรณ์กี่ครั้งก็ตาม เพื่อให้ได้รับผลประเมินเชิงบวกและแม่นยำที่สุด

อย่างไรก็ตาม ผมไม่คิดว่าจะมีนักออกแบบคนไหนพูดว่า เครื่องดนตรีชิ้นนี้สมบูรณ์แบบและพอใจอย่างสูงสุดแล้ว เครื่องดนตรีเกิดขึ้นในบริบทของการแสดงออกทางดนตรี และดนตรีเองไม่มีข้อจำกัดใดๆ ถ้าคุณมองถึงความหลากหลายทั้งหมดของดนตรี ก็จะเห็นว่ามันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะบอกว่าเครื่องดนตรีชิ้นไหนจะ “ดีที่สุด” แม้กระทั่งตอนนี้ ผมเองยังคิดอยู่บ่อยๆ ว่า “อืมมม.... ถ้าเรามองแบบนี้ เครื่องดนตรีชิ้นนี้จะต้องดีมากแน่ๆ” หรือ “ถ้าเราหาทางทำให้เครื่องดนตรีชิ้นนี้ ช่วยผู้เล่นในเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากๆ ได้ มันจะเป็นการเล่นดนตรีที่ดีอย่างมากเลยทีเดียว” ในขณะที่เราพัฒนาเปียโนเหล่านี้ ในฐานะที่เป็นนักออกแบบ เราจินตนาการถึงเครื่องดนตรีที่ดีกว่านี้เสมอ มันไม่มีจุดสิ้นสุดที่จะทำให้เราหยุดคิดและพัฒนาได้จริงๆ

ยูทากะ มัทซูกิ

ผู้จัดการแผนกออกแบบเปียโน

ร่วมงานกับยามาฮ่าเมื่อปี 2535 หลังจากเริ่มต้นทำงานให้กับยามาฮ่า มัทซูกิได้รับแต่งตั้งให้พัฒนาเปียโน และมีส่วนร่วมในการสร้าง SU7 และเครื่องดนตรีอื่นๆ หลังจากนั้น ได้รับประสบการณ์เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาแกรนด์เปียโน เขาถูกทาบทามให้พัฒนาซีรีส์ CF ซึ่งออกจำหน่ายในปี 2553
ปัจจุบัน มัทซูกิมีส่วนร่วมในการพัฒนาส่วนหลักที่ทำให้อะคูสติกเปียโนมีลักษณะเฉพาะที่เป็นรากฐานสำหรับการเล่น