สำหรับ Windows จะเกิดเสียงรบกวนและสัญญาณขาดหายในระหว่างเล่น

รายละเอียดที่จะกล่าวถึงด้านล่างนี้เป็นมาตรการที่คุณต้องปฏิบัติเมื่อเกิดเสียงรบกวน

โปรดปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวแล้วตรวจสอบว่าแก้ไขปัญหาได้หรือไม่

มาตรการที่ 1 ติดตั้ง Yamaha Steinberg USB Driver

ติดตั้ง Yamaha Steinberg USB Driver ที่มาในรูปแบบไฟล์ zip ที่ดาวน์โหลดมาจาก Steinberg Download Assistance

หากติดตั้งไดรเวอร์ไว้แล้ว ให้ลองถอนการติดตั้ง จากนั้นจึงติดตั้งใหม่อีกครั้ง ต้องมี Yamaha Steinberg USB Driver V2.1.0 หรือเวอร์ชั่นใหม่กว่า

คุณสามารถตรวจสอบเวอร์ชั่นปัจจุบันของไดรเวอร์ได้จากหัวข้อ About ใน Yamaha Steinberg USB Driver Control Panel

การเปิด Yamaha Steinberg USB Driver Control Panel

*สำหรับไดรเวอร์เวอร์ชั่น V1 Start Menu > Windows System Tools > Control Pane คลิก Yamaha Steinberg USB Driver

*สำหรับไดรเวอร์เวอร์ชั่น V2 หรือเวอร์ชั่นใหม่กว่า Start Menu > Yamaha Steinberg USB Driver > Control Panel

มาตรการที่ 2 รัน Windows Update

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเมื่อรัน Windows Update แล้วสถานการณ์เปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่

โปรดจำไว้ว่าคุณอาจต้องรัน Windows Update มากกว่าหนึ่งครั้ง

โปรดลองรันหลายๆ ครั้งและอัพเดตรายการทั้งหมด

มาตรการที่ 3 ตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับ RUio16-D

หากคอมพิวเตอร์ไม่รู้จัก RUio16-D ผ่านการเชื่อมต่อ USB อาจเกิดเสียงรบกวนหรือสัญญาณเสียงขาดหายได้

หากคุณใช้งานฮับ USB อยู่ ให้เปลี่ยนไปเชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับช่อง USB ของเครื่องคอมพิวเตอร์แทน

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการแยกแยะปัญหา แม้ว่าคุณจะเชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับช่อง USB ของเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อช่อง USB ที่แตกต่างกันอาจให้ผลลัพธ์ที่ต่างกัน

นอกจากนี้ หากคุณใช้สาย USB อื่นที่ไม่ใช่สาย USB ที่ให้มาพร้อมผลิตภัณฑ์ (USB-C to USB-C หรือ USB-C to USB-A) โปรดลองเปลี่ยนสาย USB ดังกล่าว

*ในบางกรณีอาจเกิดเสียงรบกวนขึ้นเนื่องจากมีการใช้งาน USB 3.0 แม้ว่าจะแก้ไขปัญหานี้ได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป ในบางกรณีคุณสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการติดตั้งช่องต่อ USB 2.0 และเชื่อมต่อ RUio16-D เข้ากับช่องต่อดังกล่าว โดยปกติ ไม่แนะนำให้ใช้ฮับ แต่หากคุณมีฮับ USB 2.0 คุณสามารถตรวจสอบและยืนยันได้โดยการเชื่อมต่อและตรวจสอบการทำงาน

มาตรการที่ 4 ตรวจสอบการตั้งค่าการประหยัดพลังงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

การทำงานของ RUio16-D อาจไม่เสถียรเนื่องจากฟังก์ชั่นการประหยัดพลังงานของระบบปฏิบัติการ

Open Control Panel > Power Options ปิดฟังก์ชันการประหยัดพลังงานทั้งหมดที่ทำงานอยู่ (เช่น Sleep เป็นต้น) จากนั้นให้ตรวจสอบการทำงาน

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น คุณอาจจำเป็นต้องตั้งค่าฟังก์ชันการประหยัดพลังงานใน BIOS/UEFI ของคอมพิวเตอร์

โปรดตรวจสอบข้อมูลผ่านทางออนไลน์หรือติดต่อผู้ผลิตเพื่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการตั้งค่าคอมพิวเตอร์ รวมถึง BIOS/UEFI เราขออภัยในความไม่สะดวกที่อาจเกิดขึ้น

มาตรการที่ 5 ปิดการใช้งาน USB Selective Suspend สำหรับ Windows 10 (Windows 10 เวอร์ชั่น 1903 หรือเวอร์ชั่นใหม่กว่า)

โปรดลองปิดฟังก์ชัน Suspend สำหรับช่อง USB เพื่อตรวจสอบว่าปัญหาดังกล่าวหายไปหรือไม่

  1. คลิกขวาที่ Start Menu > คลิกซ้ายที่ Power Options
  2. ใน “Power & sleep” ให้คลิกซ้ายที่ “Additional power settings”
  3. หลังจากตรวจสอบแผนพลังงานที่เลือกในขณะนั้นแล้ว ให้คลิกซ้ายที่ “Change plan settings” ซึ่งอยู่ด้านขวามือ
  4. ในหน้าต่าง Edit Plan Settings ให้คลิกซ้ายที่ “Change advanced power settings”
  5. ในหน้าต่าง Power Options ให้คลิกซ้ายที่ปุ่ม [+] ซึ่งอยู่ด้านซ้ายของ “USB settings”
  6. คลิกซ้ายที่ปุ่ม [+] ซึ่งอยู่ด้านซ้ายของ “USB selective suspend settings”
  7. ตั้งค่าเป็น “Disabled”
  8. คลิกซ้ายที่ Apply
  9. รีสตาร์ตเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ

มาตรการที่ 6 เปลี่ยนการตั้งค่าการทำงานของคอมพิวเตอร์

การปรับเปลี่ยนการตั้งค่าการทำงานของคอมพิวเตอร์อาจทำให้การทำงานเสถียรและลดเสียงรบกวนได้

โปรดลองปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

การเปิดใช้งานการตั้งค่าเพื่อจัดลำดับความสำคัญ “Background services” ใน “Background services”

  1. เปิด Control Panel จากนั้นดับเบิลคลิกที่ System *สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการเปิด Control Panel โปรดดูหัวข้อด้านล่างเกี่ยวกับการเปลี่ยนขนาดบัฟเฟอร์
  2. คลิกที่ “Advanced system settings” ซึ่งอยู่ด้านซ้ายของหน้าต่างที่ปรากฏ
  3. หน้าต่าง System Properties จะปรากฏ คลิกที่แท็บ Advanced
  4. ในหน้า Performance ให้คลิกที่ Settings เพื่อเปิดหน้าต่าง Performance Options จากนั้นคลิกที่แท็บ Advanced
  5. ในหัวข้อ “Processor scheduling” ตั้งค่า “Adjust for best performance of:” เป็น “Background services”
  6. คลิกที่ปุ่ม OK เพื่อปิดหน้าต่าง

มาตรการที่ 7 เปลี่ยนการตั้งค่าการ์ดจอและอัพเดตไดรเวอร์การ์ดจอ

คุณสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพได้โดยการอัพเดตไดรเวอร์การ์ดจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้งานอยู่ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด หรือ เปลี่ยนการตั้งค่าการ์ดจอ

หัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้จะพิจารณาว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า

- ปิดฟังก์ชันเสริมสำหรับการเล่นเกมในการตั้งค่าการ์ดจอ

- ปิดฟังก์ชันเสริมสำหรับการประหยัดพลังงานในการตั้งค่าการ์ดจอ

- หากคุณใช้งาน GPU หลายตัว ให้ลองเปลี่ยนไปใช้งาน GPU ตัวเดียว

- หากคุณใช้งานการ์ดจอแบบบิวท์อินและการ์ดจอภายนอก ให้ลองเปลี่ยนไปใช้งานการ์ดจอแบบบิวท์อินเพียงอย่างเดียว

ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและหมายเลขรุ่นของการ์ดจอ รวมทั้งผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้น โปรดสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งค่าต่างๆ จากผู้ผลิตการ์ดจอ หรือ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์

มาตรการที่ 8 การเปลี่ยนขนาดบัฟเฟอร์

ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้เพื่อเปลี่ยนขนาดบัฟเฟอร์ของ Yamaha Steinberg USB Driver ให้เป็นค่า (Sample) ที่ใหญ่กว่าค่าปัจจุบัน (Sample)

1. การเปิด Yamaha Steinberg USB Driver Control Panel

- Windows Start Menu > Yamaha Steinberg USB Driver > Control Panel

2. คลิกที่แท็บ ASIO ที่หน้าต่างด้านล่างและปรับเปลี่ยนขนาดบัฟเฟอร์ให้เป็นค่าที่ใหญ่กว่าค่าปัจจุบัน

2. คลิกที่แท็บ ASIO ที่หน้าต่างด้านล่างและปรับเปลี่ยนขนาดบัฟเฟอร์ให้เป็นค่าที่ใหญ่กว่าค่าปัจจุบัน

มาตรการที่ 9 ตรวจสอบอัตราสุ่มสัญญาณ

หากอัตราสุ่มสัญญาณของ RUio16-D และ VST Rack Pro ไม่สัมพันธ์กันอาจทำให้เกิดเสียงรบกวนหรือสัญญาณเสียงขาดหายได้

ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้เพื่อตรวจสอบอัตราสุ่มสัญญาณของ VST Rack Pro

1. เปิด Control Panel โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้ Start Menu > Yamaha Steinberg USB Driver > Control Panel

2. เปิดแท็บ RUio16-D

3. ตรวจสอบอัตราสุ่มสัญญาณในขณะนั้น ยกตัวอย่างเช่น หากซอฟต์แวร์การเล่นหรือข้อมูลเพลงที่เล่นอยู่มีค่า 48 kHz ให้ตั้งค่าพารามิเตอร์นี้ไว้ที่ 48 kHz *ปรับตั้งค่าให้เท่ากับสเป็คและการตั้งค่าของซอฟต์แวร์ที่คุณใช้งานอยู่

หากคุณใช้งานโปรแกรมสำหรับการเล่นออดิโอหลายโปรแกรมพร้อมกัน การตั้งค่าอัตราสุ่มสัญญาณอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการใช้งานซอฟต์แวร์ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดเสียงรบกวน

ให้ลองใช้งานโปรแกรมเพียงโปรแกรมเดียว

มาตรการที่ 10 ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ นอกเหนือจาก RUio16-D

อาจมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดเสียงรบกวนนอกเหนือจาก RUio16-D ยกตัวอย่างเช่น ลำโพงหรือหูฟังที่เชื่อมต่อกับ RUio16-D สายเคเบิลเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าปัญหาดังกล่าวไม่ได้มีสาเหตุจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่กับ RUio16-D โดยลองเปลี่ยนอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ RUio16-D หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ

หากคุณเชื่อมต่อ RUio16-D กับคอมพิวเตอร์ผ่านฮับ USB ให้เปลี่ยนไปเชื่อมต่อโดยตรงกับคอมพิวเตอร์โดยไม่ผ่านฮับ USB

มาตรการที่ 11 การตรวจสอบโหลดของคอมพิวเตอร์

หลังจากรีสตาร์ตคอมพิวเตอร์ ให้ปิดซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่ให้เหลือน้อยที่สุด และลองใช้งานเมื่อคอมพิวเตอร์อยู่ในสถานะค่าโหลดต่ำ

หากเกิดปัญหาขึ้นเมื่อคุณเปิดใช้งานโปรแกรมหลายโปรแกรมพร้อมกัน โปรดตรวจสอบการตั้งค่าซอฟต์แวร์ดังกล่าว

ให้ลองลดค่าโหลดบนคอมพิวเตอร์ของคุณโดยตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีซอฟต์แวร์ การอัพเดตระบบปฏิบัติการและการสแกนที่กำลังทำงานอยู่ และไม่ได้รันโปรแกรมหลายโปรแกรมพร้อมกันในขณะนั้น

มาตรการที่ 12 ลองเปลี่ยนตำแหน่งให้ห่างจากเราเตอร์ Wi-Fi และโทรศัพท์มือถือ

หากมีอุปกรณ์ที่ปล่อยคลื่นวิทยุ เช่น เราเตอร์ Wi-Fi หรือโทรศัพท์มือถืออยู่ใกล้ RUio16-D หรือคอมพิวเตอร์ อาจเกิดสัญญาณรบกวนแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณเสียงรบกวนจาก RUio16-D ได้

หากเกิดปัญหาดังกล่าว ให้ลองเว้นระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ดังกล่าวกับ RUio16-D ให้มากขึ้นเพื่อตรวจสอบว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดๆ หรือไม่

มาตรการที่ 13 ยกเลิกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตชั่วคราว

ในบางกรณีอาจเกิดเสียงรบกวนจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เช่น Wi-Fi และ อีเธอร์เน็ต

โปรดตรวจสอบการทำงานของ RUio16-D หลังจากยกเลิกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตชั่วคราว เช่น Wi-Fi และ อีเธอร์เน็ต ฯลฯ

หากเสียงรบกวนลดลงหลังจากยกเลิกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตชั่วคราว ให้อัพเกรดเราเตอร์ Wi-Fi หรืออุปกรณ์อินเทอร์เน็ตอื่นๆ ของคุณ

มาตรการที่ 14 ปิดแอปพลิเคชันที่ไม่จำเป็น

ปิดซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส ภาพพักหน้าจอ และโปรแกรมอื่นๆ ที่รันอยู่

นอกจากนี้ ให้ปิดแอปพลิเคชันทั้งหมดที่ไม่จำเป็นแล้วตรวจสอบใหม่อีกครั้ง

*เพื่อความปลอดภัย ให้ปิดซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสหลังจากยกเลิกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้ว

มาตรการที่ 15 การตั้งค่าลำดับความสำคัญ Background Service ของหน่วยประมวลผล

การเปิดใช้งานการตั้งค่าเพื่อจัดลำดับความสำคัญ “Background services” ใน “Processor scheduling”

[ขั้นตอน]

  1. จากเมนู Windows Start ให้เปิด Control Panel จากนั้นดับเบิลคลิกที่ System
  2. หน้าต่าง System Properties จะปรากฏ คลิกที่แท็บ Advanced
  3. ในหน้า Performance ให้คลิกที่ Settings เพื่อเปิดหน้าต่าง Performance Options จากนั้นคลิกที่แท็บ Advanced
  4. ในหัวข้อ “Processor scheduling” ตั้งค่า “Adjust for best performance of:” เป็น “Background services”
  5. คลิกที่ปุ่ม OK เพื่อปิดหน้าต่าง

*การตั้งค่าสำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ขั้นสูง

สัญญาณเสียงอาจขาดหายเนื่องจากปัญหาการรองรับการใช้งานของสเป็คฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์

ในกรณีนี้ ให้ตรวจสอบหัวข้อต่างๆ ดังนี้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการตั้งค่าเหล่านี้เป็นการควบคุมการตั้งค่า BIOS/UEFI ฯลฯ คอมพิวเตอร์อาจไม่บูตทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าที่ใช้งาน เราไม่ขอรับผิดชอบหากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สตาร์ตหลังจากกำหนดการตั้งค่าดังกล่าว โปรดใช้ความระมัดระวังในการดำเนินการดังกล่าว

มีคำศัพท์เฉพาะทางเทคนิคมากมายสำหรับผู้ใช้งานขั้นสูง

หากคุณไม่เข้าใจคำศัพท์เฉพาะทางเทคนิคเหล่านั้น ขอแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าดังกล่าว

ลองอัพเดต UEFI/BIO และเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าดังกล่าว

- หากคอมพิวเตอร์ของคุณใช้ UEFI/BIOS เวอร์ชั่นเก่า ให้ลองอัพเดตเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด

- หากคุณใช้ Intel CPU ให้ยกเลิกการใช้งาน Turbo Boost หรือ EIST ในการตั้งค่า BIOS/UEFI

- สำหรับ AMD CPU ให้ลองปิดฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อด้านบน (Precision Boost 2, Eco Mode ฯลฯ) ในการตั้งค่า BIOS/UEFI

*โปรดตรวจสอบข้อมูลผ่านทางออนไลน์หรือติดต่อผู้ผลิตเพื่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการตั้งค่าคอมพิวเตอร์ รวมถึง BIOS/UEFI เราขออภัยในความไม่สะดวกที่อาจเกิดขึ้น

หากคุณลองปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้นครบทั้งหมดแล้วแต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

โปรดลองใช้งาน RUio16-D บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ขอขอบพระคุณที่เข้าใจ

Yamaha VST Rack

VST Rack

ซอฟต์แวร์ VST Rack เป็นซอฟต์แวร์โฮสต์แบบปลั๊กอินซึ่งใช้ปลั๊กอิน VST ช่วยให้คุณสามารถสร้างสรรค์เอฟเฟกต์แร็คได้ตามต้องการ