วิธีการมิกซ์เสียงการแสดงดนตรีสด

ยินดีต้อนรับสู่ชุดการฝึกอบรมชุดใหม่เกี่ยวกับ “How To Mix Live Music”! เราจะมีเนื้อหาครอบคลุมเทคนิคมากมายสำหรับการใช้ประโยชน์จากมิกเซอร์ ไม่ว่าจะเป็นอนาล็อกหรือดิจิตอลและวิธีการสร้างเสียงที่น่าฟังสำหรับนักดนตรีและผู้ชม ... และแน่นอนว่าคุณคือวิศวกรด้านเสียง!
บทที่ 1 - บทนำ
คุณจะได้เรียนรู้วิธีการใช้คุณสมบัติต่างๆ ของมิกเซอร์เหล่านี้และวิธีการนำไปใช้กับงานมิกซ์เพลงแบบปกติของคุณ เรามีเคล็ดลับ, คำแนะนำและประสบการณ์มากมายที่จะมาแชร์กับคุณ เมื่อคุณรู้ว่าคุณกำลังทำอะไร การมิกซ์เสียงการแสดงสดจะกลายเป็นเรื่องสนุกและสร้างสรรค์มากขึ้น
บทที่ 2 - คอนโซลแบบไหนดี?
ในวิดีโอนี้เราจะพูดถึงวิธีการเลือกมิกเซอร์ที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของคุณ รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมที่คุณควรใช้ในการทำงานเสมอๆ!
บทที่ 3 - เข้าสู่การเชื่อมต่อ
ในตอนที่ 3 ของการฝึกอบรมชุด “วิธีการมิกซ์เสียงการแสดงดนตรีสด - How To Mix Live Music” เราจะเชื่อมต่อมิกเซอร์กับอุปกรณ์เสียงอื่นๆ ทั้งหมดเช่น ไมโครโฟน, เครื่องขยายเสียงและลำโพง คุณควรกำหนดเป้าหมายที่จะทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทุกอย่างของคุณให้เสร็จก่อนที่จะเปิดเครื่อง!
แต่ก่อนที่เราจะเริ่มต้นการเชื่อมต่อกัน เรามาวางแผนกันก่อนดีกว่า!
บทที่ 4 - ไมโครโฟน
ก่อนที่เราจะเริ่มใช้มิกเซอร์ เราจะพูดคุยเกี่ยวกับไมโครโฟน: วิธีการเลือกประเภทที่เหมาะสมที่สุดและสถานที่ที่จะนำไปใช้สำหรับเครื่องดนตรีที่พบบ่อยที่สุด!
บทที่ 5 - อินพุต
ครั้งที่แล้วที่เราเลือกไมโครโฟนของเรา และวางไว้ใกล้ๆ เครื่องดนตรีบนเวที ตอนนี้เราจะนำเสียงจากเวทีเข้าสู่มิกเซอร์ของเรา และตั้งค่าที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละอินพุต
บทที่ 6 - โครงสร้างการเพิ่มระดับเสียง
คราวนี้เรามีหัวข้อที่สำคัญมาก ซึ่งเราได้เห็นแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพบางคนทำผิดพลาดเป็นครั้งคราว มันคือ “โครงสร้างการเพิ่มระดับเสียง - Gain Structure” ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจ ถ้าคุณต้องการที่จะได้เสียงที่ใสสะอาดและคงที่ทุกครั้งในการผสมเสียง!
บทที่ 7 - HPF
ในบทที่ 7 เราจะเห็นว่าปุ่มเล็กๆ สามารถช่วยเหลือได้อย่างมากมาย: มันคือ "High Pass Filter" แล้วคำถามแรกของเราคือ “High Pass Filter” คืออะไร? High Pass Filter เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประโยชน์มากที่สุดในมิกซ์คอนโซลแบบแสดงสด โดยที่เป็นการเก็บสัญญาณในย่านความถี่สูงทั้งหมดไว้ และกรองความถี่ต่ำที่ไม่จำเป็นออกไป
บทที่ 8 - แนะนำ EQ
วิดีโอนี้จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับประเภทของ EQ ที่มีมาให้สำหรับเครื่องมิกซ์สัญญาณแบบอะนาล็อกและดิจิตอลสำหรับการแสดงสดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและจะช่วยให้คุณเข้าใจถึงวิธีการใช้งานตัวควบคุมทั้งหมดได้อย่างปลอดภัย
บทที่ 9 - EQ สำหรับเอาท์พุต
คราวนี้เราจะนำเสนอการทำ EQ ให้กับเอาท์พุตของเรา ซึ่งเป็นลำโพงสำหรับผู้ชมและนักแสดงบนเวที ถ้าคุณทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก มันจะง่ายมากที่จะใช้ EQ ในช่องอินพุตทั้งหมด ใช้เวลาในการทำงานกับเอาต์พุตก่อนจะช่วยประหยัดเวลาในการทำงานกับอินพุตได้ในภายหลัง
บทที่ 10 - EQ สำหรับกลอง
ในบทนี้เราจะโฟกัสไปที่กลองอย่างกลองเบส, กลองสแนร์, ไฮแฮท, กลองทอมและโอเวอร์เฮด ซึ่งอาจเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงดังที่สุดในวงดนตรีและเป็นเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดตลอดย่านความถี่ ดังนั้นการใช้งานไมโครโฟนแต่ละตัวจึงมีความแตกต่างกันออกไป
บทที่ 11 - EQ สำหรับเบสไฟฟ้า, กีต้าร์และคีย์บอร์ด
เรามีเสียงกลองที่ดีอยู่แล้ว ตอนนี้เราจะไปกันต่อที่เบสไฟฟ้า, กีต้าร์ไฟฟ้าและคีย์บอร์ดซึ่งเป็นเครื่องดนตรีสำคัญสำหรับวงร็อคและป๊อปโดยส่วนใหญ่
บทที่ 12 - EQ สำหรับเครื่องดนตรีอะคูสติก
ตอนนี้เราจะเริ่มใช้ EQ กับเครื่องดนตรีอะคูสติกอย่างเช่น กีตาร์, ไวโอลินและเครื่องเป่าทองเหลือง เครื่องดนตรีบางชิ้นมีความละเอียดอ่อนและจำเป็นต้องมีการดูแลเพื่อหลีกเลี่ยงเสียงฟีดแบ็ก แม้แต่กีต้าร์อะคูสติกไฟฟ้าที่มีลำตัวแบบกลวงพร้อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในตัวเพื่อเก็บเสียง ก็สามารถเกิดฟีดแบ็กได้ ถ้าอยู่ใกล้ๆ ลำโพงมอนิเตอร์
บทที่ 13 - EQ สำหรับไมโครโฟนนักร้อง
คราวนี้เราจะปรับแต่งเสียง EQ ของไมค์ร้องกัน เสียงของมนุษย์นั้นมีความแตกต่างหลากหลายกันมากระหว่างชายและหญิงที่คุณอาจคิดว่าแต่ละสไตล์จะต้องได้รับการจัดการที่แตกต่างกัน แต่จริงๆ แล้วมีเพียงไม่กี่หลักการพื้นฐานที่จะนำไปใช้และจำไว้ว่าสำหรับการแสดงสดส่วนใหญ่ต้องใช้ไดนามิกไมโครโฟนแบบคาร์ดิออย
บทที่ 14 - การแพนเสียง
เราทำการติดตั้ง แล้วเราได้ปรับ PA ให้เหมาะกับห้องและปรับ EQ อินพุตทั้งหมด ตอนนี้เรากำลังจะต่อพ่วงมิกเซอร์ไปที่แพนและเฟดเดอร์ ปกติตำแหน่งแพนจะคงที่ในระหว่างการแสดง แต่เฟดเดอร์จะมีการปรับเปลี่ยนการควบคุมบ่อยที่สุดบนมิกเซอร์ เพราะว่าเป็นส่วนที่ถูกสัมผัสมากที่สุด
บทที่ 15 - เฟดเดอร์และการจัดกลุ่ม
เราได้ตั้งค่าอินพุต, ไฮพาสฟิลเตอร์, EQ และแพน ทีนี้ถึงเวลาที่จะโฟกัสไปที่เฟดเดอร์แล้ว เรียนรู้วิธีปรับสมดุลเสียงของวงดนตรี โดยให้ความสนใจไปกับการรับฟังและปรับแต่งเสียงในขณะที่การแสดงดำเนินไป
บทที่ 16 - Auxes
คราวนี้ เรากำลังดูวิธีการใช้บัส AUX ในการสร้างมิกซ์มอนิเตอร์สำหรับวงดนตรีบนเวที AUX เป็นชุดเอาต์พุตบัสอเนกประสงค์ที่พบได้ในมิกซ์คอนโซลส่วนใหญ่ ที่อาจเป็นโมโนหรือสเตอริโอ, พรี-เฟดเดอร์หรือโพสต์เฟดเดอร์และทั้งหมดยังสามารถควบคุมระดับสัญญาณที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่องสัญญาณอินพุต
บทที่ 17 - ซับ, โมโนและเมตริกซ์เอาท์พุต
คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าเมทริกซ์บนมิกซ์คอนโซลใช้สำหรับทำอะไร? ในบทนี้เราจะได้รู้กันและเราจะพูดคุยเกี่ยวกับการใช้โมโนหรือซับบัสด้วย
บทที่ 18 - คอมเพรสเซอร์
ในบทนี้เราจะไปดูที่คอมเพรสเซอร์ว่าจะใช้อย่างไรและเมื่อไหร่ ผลที่เกิดจากคอมเพรสเซอร์อาจจะดูซับซ้อน แต่เป็นโปรเซสเซอร์ที่สำคัญและมีประโยชน์มากในเพลงป๊อปและร็อค เมื่อคุณเข้าใจวิธีการใช้อย่างถูกต้องแล้ว การมิกซ์ของคุณจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างมาก
บทที่ 19 - นอยส์เกต
สำหรับหัวข้อของบทนี้คือ Noise gate มันคืออะไร แล้วจะใช้ประโยชน์ได้ตอนไหน เช่นเดียวกับคอมเพรสเซอร์ สิ่งนี้ไม่เคยมีมาก่อนบนมิกซ์คอนโซลจนกระทั่งดิจิทัลมิกเซอร์เริ่มได้รับความนิยมในช่วงกลางปี 1990
บทที่ 20 - การบีบอัดเอาท์พุต
เราเกือบจะเสร็จสิ้นการมิกซ์เสียงโดยใช้ EQ การบีบอัดและ noise gate เข้ากับอินพุตและใช้แพนเฟดเดอร์และกรุ๊ปเพื่อปรับการผสมผสานของเครื่องดนตรีและเสียงร้องทั้งหมด และในตอนนี้เราจะนำการบีบอัดไปใช้กับเอาท์พุท
บทที่ 21 - รีเวิร์บ
ในบทนี้เราจะเพิ่มเสียงรีเวิร์บในการมิกซ์ สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักร้องและเครื่องดนตรีอคูสติกที่มีการโซโล เป็นการทำให้เสียงเหล่านั้นโดดเด่นขึ้นจากการมิกซ์หลักของวง แต่ในการใช้งานจะขึ้นอยู่กับสภาพอะคูสติกของสถานที่แสดงเป็นสำคัญ
บทที่ 22 - ดีเลย์
ในบทนี้เราจะทดสอบกับการใช้งานแทปดีเลย์ เอฟเฟกต์นี้สามารถใช้ได้หลายวิธี วิธีแรกคือการใช้อย่างต่อเนื่องโดยมีการดีเลย์แบบค่อนข้างสั้นเพื่อเพิ่มปริมาณเนื้อเสียงหรือขนาดของมวลเสียง ส่วนอีกวิธีคือการเน้นโน้ตในแต่ละตัว วลีในการเล่นโซโล่หรือกลุ่มคำสำหรับนักร้องนำ
บทที่ 23 - ซาวด์เช็ค
ตอนนี้เราได้พูดถึงทฤษฎีโครงสร้างการเพิ่มระดับเสียง, อีคิว, ไดนามิก, กรุ๊ปและเอฟเฟกต์ไปแล้ว ลองนำไปใช้ในทางปฏิบัติกัน โดยเรามีวงดนตรีที่กำลังจะแสดงสดเข้ามา และเรากำลังจะทำซาวด์เช็ค ให้ลองนึกถึงทุกๆ อย่างที่เราได้กล่าวถึงมาแล้วทั้งหมดจนถึงตอนนี้
บทที่ 24 - การบันทึกเสียง
นี่คือบทสุดท้ายและเราจะลองทำการบันทึกการแสดงสดกัน สิ่งนี้มีประโยชน์สำหรับทั้งวิศวกรเสียงและนักดนตรีในการฟังและประเมินผลการแสดง อาจเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ภายหลังจากการซ้อมดนตรี หรืออัปโหลดไปยังโซเชียลมีเดียหรือเก็บไว้เป็นของที่ระลึกที่ดีงาม
บทที่ 25 - การไลฟ์สตรีมมิ่ง
เรากลับมาแล้วกับตอนใหม่! การแสดงดนตรีสดรูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่งได้กลายเป็นที่นิยมเมื่อไม่นานมานี้ และติดตั้งได้ง่ายกว่าเดิมมาก จากหลายตอนก่อนหน้านี้ เราได้สอนทฤษฎีและเทคนิคต่างๆ ไปแล้ว จากนี้จะเป็นคำแนะนำบางส่วนเพื่อการมิกซ์เสียงการไลฟ์สตรีมมิ่งที่ดี เราจะมุ่งเน้นที่สิ่งแวดล้อมในการฟัง การไหลของสัญญาณเสียง การจับคู่ระดับ การจัดการจังหวะและระดับ
บทที่ 26 - Q&A ตอนที่ 1
เราได้รับคำถามและความคิดเห็นที่ดีมากมายจากผู้ชมของเรา ขอขอบคุณการสนับสนุนจากทุกคน ขณะนี้ ได้เวลาสำหรับการตอบคำถามและให้คำแนะนำเพิ่มเติมแล้ว ในตอนที่ 1 เราจะมุ่งเน้นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับระดับสัญญาณเสียง รวมถึงความหมายของสัญลักษณ์ “dB” บนมิกเซอร์ และการประโยชน์จาก “ค่าเกนดิจิตอล”
บทที่ 27 - Q&A ตอนที่ 2
เรามีคำถามมากมายจากผู้ชมที่จะต้องตอบ ซึ่งในครั้งนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการกำหนดเส้นทางสัญญาณ คุณต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของช่องสัญญาณโมโนบนมิกเซอร์และวิธีการจัดการเอาต์พุตไปยังซับวูฟเฟอร์ คุณจะต้องทบทวนความรู้เกี่ยวกับการใช้การบีบอัดสัญญาณในแต่ละกลุ่ม และความแตกต่างระหว่างปลั๊กช่องเสียบต่างๆ ในบทนี้จะประกอบด้วยเนื้อหาเหล่านี้และหัวข้ออื่นๆ อีกมากมาย