Yamaha ได้แสดงการสนับสนุนคำแนะนำของ TCFD และยังได้รับการรับรองเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก SBT Initiative

ขอบเขตที่ 1+2 *3: ลดลง 32% ภายในปี 2573 (ลดลง 83% ภายในปี 2593)

ขอบเขตที่ 3 *4: ลดลง 30% ภายในปี 2573

หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของแผนการจัดการระยะกลาง "Make Waves 1.0" ของ Yamaha Group ที่ได้ประกาศไปเมื่อเดือนเมษายน 2562 คือ "การมีส่วนร่วมในสังคมผ่านธุรกิจของเรา" ด้วยการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ไม้อย่างยั่งยืน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) Yamaha มีความมุ่งมั่นที่จะอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่กำหนดโดย UN เป้าหมายระยะกลางถึงระยะยาวในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับ SBT ของ Yamaha และกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเหล่านี้ และในปัจจุบัน Yamaha มีความทุ่มเทมากกว่าในอดีตที่จะบรรลุเป้าหมายนี้และเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานสูง มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ประหยัดพลังงาน และมีการกระจายผลิตภัณฑ์ที่คล่องตัว นอกจากนี้ Yamaha ได้กำลังวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสที่เข้ามาในบริษัทจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและได้สะท้อนสิ่งเหล่านี้ด้วยกลยุทธ์การจัดการของบริษัท ในขณะที่ยังมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบทางการเงินที่เกี่ยวข้องโดยปฏิบัติตามคำแนะนำของ TCFD

หมายเหตุ:

*1: SBT: เป้าหมายบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ SBT Initiative ถือเป็นการส่งเสริมการกำหนดเป้าหมายบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของความตกลงปารีส (Paris Agreement) และยังเป็นการประเมินและการรับรองเป้าหมายดังกล่าว SBT Initiative ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2558 ด้วยการร่วมมือของสี่องค์กร โดยมี CDP (องค์กร NGO ระหว่างประเทศที่มุ่งเน้นเรื่องการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม), สมาชิกข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ (UNGC), สถาบันทรัพยากรโลก (WRI) และกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF)

*2: TCFD: หน่วยงานเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก่อตั้งโดยคณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน (FSB) โดยสมาชิกจะประกอบไปด้วยผู้ว่าการธนาคารกลางและรัฐมนตรีคลังของประเทศหลัก TCFD มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบทางการเงินของความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และจะเผยแพร่คำแนะนำของ TCFD (TCFD Recommendations) ที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในเดือนมิถุนายน 2560 สถาบันการเงิน องค์กร และรัฐบาลทั่วโลกได้ให้การสนับสนุนคำแนะนำเหล่านี้

*3: ขอบเขตที่ 1: การปล่อยก๊าซทางตรงจากแหล่งผลิตที่เป็นเจ้าของหรือจากแหล่งผลิตที่มีหน้าที่ควบคุม ขอบเขตที่ 2: การปล่อยก๊าซทางอ้อมที่เกิดจากการซื้อพลังงาน เช่น ไฟฟ้า ไอน้ำ เป็นต้น

*4: ขอบเขตที่ 3: การปล่อยก๊าซทางอ้อมทั้งหมด (ที่ไม่รวมอยู่ในขอบเขตที่ 2) ที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่แห่งคุณค่าของบริษัทที่รายงาน รวมถึงการปล่อยก๊าซจากทั้งต้นทางและปลายทาง (เช่น วัตถุดิบ การจัดซื้ออะไหล่ การขนส่ง การใช้ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น)

*ชื่อผลิตภัณฑ์และบริษัทที่ได้กล่าวถึงในที่นี้ถือเป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Yamaha Corporation หรือเจ้าของที่เกี่ยวข้อง

*ข้อมูลทั้งหมดในที่นี้เป็นข้อมูลล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่ และอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า