Carabao Cambodia Big Band Concert
ผ่านไปแล้วครับสำหรับงานคอนเสิร์ต Cambodia Big Band เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา เป็นการฉลองอัลบั้ม “กัมพูชา” ครบรอบ 30 ปี ซึ่งเป็นผลงานเดี่ยวชุดแรกของพี่แอ๊ด คาราบาว หลายท่านที่ได้ไปสัมผัสกับบรรยากาศความอลังการของดนตรีในวันนั้น ต่างชื่นชมในน้ำเสียงอันไพเราะและความเป็นธรรมชาติจากไมโครโฟนสัญชาติออสเตรีย “LEWITT”
จนหลายๆคนอยากทราบเกี่ยวกับเบื้องหลังการทำงานว่ามีความยากง่ายและซับซ้อนเพียงใด ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่าดนตรีในงานนี้มีองค์ประกอบหลักอยู่สองส่วนคือ วงคาราบาว โดยมี Thailand Philharmonic Orchestra (TPO) เล่นสนับสนุนเบื้องหลัง
โดยเสียงจากเครื่องดนตรีอะคูสติคทุกชิ้นจะต้องใช้ไมโครโฟนรับเสียง ส่งผ่านระบบขยายเสียงออกสู่สาธารณชนให้เราได้ยินกัน ความยากลำบากประการแรกก็คือ จะใช้ไมค์แบบไหนกับเครื่องดนตรีชิ้นใดจึงจะได้เสียงที่ดี อีกประเด็นที่มองข้ามไปไม่ได้คือ ตัวสถานที่แสดงซึ่งมีการออกแบบให้มีการสะท้อนเสียงในตัว ทำให้เกิดเสียงก้องกังวานและหน่วงเวลา ทำให้เมื่อถึงเวลาแสดงจริง ผู้ชมย่อมได้ยินเสียงทั้งสองส่วนมาประกอบกัน
ประเด็นต่างๆเหล่านี้จึงต้องอาศัยซาวด์เอนจิเนียร์ระดับเทพ ที่ต้องเข้าใจการทำงานทั้งระบบจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบเสียงในคอนเสิร์ตนี้จึงเป็นการนำเอาศาสตร์และศิลป์มาผสมผสานกันอย่างลงตัวที่สุด
เริ่มจากวง TPO ซึ่งนั่งบรรเลงเป็นกลุ่มตามแผนผัง
การจัดวางไมค์จึงต้องเลือกชนิดและทิศทางการรับเสียงให้เหมาะสมกับเครื่องดนตรี รวมถึงต้องไม่เป็นอุปสรรคในการบรรเลงอีกด้วย
แน่นอนทีเดียวว่าปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยากคือ crosstalk จากเครื่องดนตรีต่างกลุ่มกัน จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเพิ่มหรือลดเสียงของแต่ละกลุ่ม
ดังนั้นจึงต้องอาศัยไมค์ที่มีคุณภาพสูงที่จะสามารถเก็บรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนตั้งแต่เสียงไวโอลินที่แผ่วเบาไปจนถึงทิมปานีที่ดังสนั่นหวั่นไหว ในบางกลุ่มที่มีความพุ่งของเสียงค่อนข้างมากก็จะใช้ไมค์ชนิดหลอดสุญญากาศเพื่อเพิ่มความนุ่มนวล
หรือในบางชิ้นอาจจะต้องนำไมค์เข้าไปวางในตัวเครื่องดนตรีเลยก็มี ซึ่งก็จะได้เนื้อเสียงที่ชัดเจนกว่าการเก็บเสียงจากภายนอกซึ่งอาจจะได้เสียงรอบข้างมาด้วย
และเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์แบบให้กับงานบันทึกการแสดงสดจึงต้องมีการบันทึกเสียงบรรยากาศของผู้ชมเป็นแบบสเตอริโออีกด้วย
สัญญาณจากไมค์ทั้ง 31 ตัวจะถูกส่งไปยัง Rio3224-D #1 ซึ่งอยู่ด้านหลังของเวที ทำหน้าที่แปลงสัญญาณให้เป็นดิจิตอล จากนั้นจะถูกส่งผ่านระบบ DANTE network ด้วยสาย CAT6 Ethernet ซึ่งรองรับความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลเสียงได้มากกว่า 256 แชนแนลพร้อมกัน ส่งไปยัง YAMAHA Mixing Console 3 จุด อันได้แก่
FOH (CL5)
Stage Monitor (CL5)
Recording Unit (CL5)
ซึ่งในความเป็นจริง ยังมีการดึงข้อมูลไปอีก 2 จุดคือ
ซอฟท์แวร์บันทึกเสียง Steinberg “Nuendo Live” บน MacBook Pro 2 เครื่อง เพื่อบันทึกเสียงทั้งหมด 49 แทรคที่ความละเอียด 48kHz 24bit สำหรับการผลิตเป็นแผ่นไวนิลให้แฟนเพลงได้เก็บสะสมกัน
ส่วนสัญญาณเสียงที่มาจากวงคาราบาว ไม่ว่าจะเป็นไมค์ร้องของแต่ละท่านหรือเครื่องดนตรีต่างๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนไปมาตลอดทั้งการแสดง จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับ Rio3224-D #2 อีก 18 แชนแนล ส่งข้อมูลไปรวมกันใน DANTE network เช่นกัน โดยจะต้องทำการแยกสัญญาณ network เข้าสู่ Gigabit Switch 2 ตัวในแบบ Redundant mode เพื่อลดความเสี่ยงในการทำงานใหญ่ระดับนี้
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเซ็ทอัพแบบนี้ต้องอาศัยทีมงานที่มีประสบการณ์สูงจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างทันท่วงที เพราะเมื่อทันทีที่การแสดงได้เริ่มต้นขึ้น ทีมงานในแต่ละจุดจะได้รับสัญญาณเสียงจาก DANTE network พร้อมกัน แต่จะนำไปใช้งานคนละรูปแบบ เช่น Channel Gain จะมีความเป็นอิสระจากกัน ทำให้ซาวด์เอนจิเนียร์ในแต่ละจุดสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวและสบายใจกว่าการใช้งานในแบบอะนาล็อก
แถมท้ายด้วยลำดับการแสดงและรายละเอียดของแชนแนล ซึ่งมีความจำเป็นมากๆ ทั้งนี้เพื่อให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นน้อยที่สุด
หลังจากการแสดงได้สิ้นสุดลง ทีมงานทุกคนต่างประทับใจในเสียงของไมค์ LEWITT ที่มีคุณภาพสูง รวมถึงประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยม และการใช้งานง่ายไม่ยุ่งยากของระบบ DANTE network ซึ่งคุณสามารถพิสูจน์ได้จากอัลบั้มแสดงสดที่จะวางจำหน่ายเร็วๆนี้
ขอขอบคุณ : คุณบอล VL SOUND & LIGHT Ltd., Part เอื้อเฟื้อข้อมูลประกอบบทความ