การคิดค้นและพัฒนาแพด

การตระหนักถึงแนวคิดเชิงนวัตกรรมที่นำไปสู่การแสดงดนตรีและความสามารถในการเล่น

การคิดค้นอินเตอร์เฟสแบบใหม่

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผู้ที่หลงใหลไปกับการบรรเลงด้วยนิ้วมือเพิ่มมากขึ้น แต่ทว่า นอกจาก FGDP แล้ว ยังไม่มีเครื่องดนตรีสำหรับการบรรเลงด้วยนิ้วมือออกวางจำหน่ายในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลนี้ มือกลองที่บรรเลงด้วยนิ้วมือจึงกำหนดเสียงที่ตนเองต้องการเล่นลงในแพดที่มีกริดสี่เหลี่ยมแบบ 4×4 หรือ 8×8

อย่างไรก็ตาม ความพยายามนี้ไม่เหมาะกับการบรรเลงด้วยนิ้วมือ จึงทำให้เล่นและใช้งานได้อย่าง และพบอุปสรรคหลายๆ อย่าง ผลิตภัณฑ์ FGDP ซีรีส์ถูกออกแบบมาเพื่อให้เล่นได้ง่าย แม้ว่าจะเล่นเป็นครั้งแรกก็สามารถเพลิดเพลินไปกับการบรรเลงด้วยนิ้วมือได้อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด “หน้าตา” ของเครื่องดนตรีนี้เป็นแพดอินเตอร์เฟสซึ่งออกแบบมาเพื่อให้การเล่นกลองเป็นที่นิยมแพร่หลาย

Photo looking down on the FGDP-30 pad from above the performer's head

Miura:

จุดเด่นที่สุดของการใช้งาน FGDP ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการบรรเลงด้วยนิ้วมือนั้นคือรูปทรงและการจัดวางตำแหน่งของแพด ในขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการออกแบบนั้นไม่ใช่การคาดหวังให้ผู้เล่นเรียนรู้การใช้งานแพด แต่ต้องออกแบบให้แพดสอดคล้องกับการเล่นของผู้เล่น

ผมเป็นมือกลองที่เล่นกลองอะคูสติก แต่ผมก็ยังเพลิดเพลินไปกับการบรรเลงด้วยนิ้วมือโดยใช้แพดที่มีโครงสร้างมาตรฐาน ผู้เล่นบางคนใช้เทคนิคการเล่นแบบ 3 นิ้วโดยใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้และนิ้วกลาง อย่างไรก็ตาม การจัดวางโครงสร้างแพดเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่ค่อยถูกหลักการยศาสตร์สักเท่าไรสำหรับผู้ที่ใช้มือเล่นซึ่งโดยธรรมชาติแล้วมือจะมีลักษณะโค้ง

Engineer: Kimizuka

Kimizuka:

ด้วยความเข้าใจถึงความสามารถในการเล่นเมื่อบรรเลงด้วยนิ้วมือซึ่งไม่ได้มีลักษณะเป็นเส้นตรง เราจึงคิดว่าควรออกแบบการจัดวางโครงสร้างและตำแหน่งของแพดให้เหมาะกับนิ้วมือของคุณในส่วนที่มีการเคลื่อนไหว เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นี้เป็นเครื่องดนตรีที่เล่นได้ง่าย แม้ว่าในช่วงแรกนั้นแพดจะมีโครงสร้างที่โค้งซึ่งแตกต่างจากแพดของเราในปัจจุบัน เราได้ใช้โครงสร้างนั้นเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อพัฒนาโครงสร้างของแพดให้เล่นได้ง่ายขึ้น

Miura and Kimizuka talking

Miura:

เมื่อพูดถึงการเล่นกลองอะคูสติก โดยทั่วไปแล้วกลองชุดจะประกอบด้วยกลองทอม สแนร์ กลองใหญ่ ฯลฯ นั่นคือเหตุผลว่าทำไม่จึงต้องมีการจัดวางตำแหน่ง ยกตัวอย่างเช่น การจัดวางตำแหน่งนั้นทำให้สามารถตีรัวกลองทอมได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้การเล่นโดยรวมนั้นง่ายขึ้น

กลองแพดไฟฟ้าแบบใช้นิ้วก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าคุณอาจมีแพดอยู่หลายอัน แต่จะมีอยู่บางอันที่คุณใช้งานบ่อยกว่าตัวอื่นๆ นั่นคือเรื่องที่เราต้องพิจารณา ทำไมเราจึงไม่ออกแบบแพดให้มีพื้นที่มากขึ้นสำหรับแพดที่ต้องการรายละเอียดการควบคุมที่มากขึ้น แต่กลับทำให้แพดอีกอันหนึ่งเล่นได้ง่ายขึ้นในสไตล์ที่ลื่นไหลต่อเนื่อง

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การจัดวางตำแหน่งแพดของ FGDP เป็นโครงสร้างที่เราได้หลังจากเราได้ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับตำแหน่งความสัมพันธ์ระหว่างนิ้วมือตำแหน่งต่างๆ เพื่อดูว่านิ้วใดที่เหมาะกับการเล่นเสียงใด แพดตัวใดที่คุณเล่นบ่อยกว่า ความลื่นไหลต่อเนื่องทางดนตรีที่คุณได้จากการวางสแนร์ไว้ใกล้กับทอม เป็นต้น

เราได้สำรวจโครงสร้างและรูปทรงของแพดต่างๆ ก่อนที่จะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์รุ่นปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้เราสามารถสร้างสรรค์แพดที่มีการจัดวางตำแหน่งให้เหมาะกับรูปทรงของมือเรา แม้ว่าผู้เล่นกลองด้วยนิ้วมือในโลกนี้จะมีเทคนิคการเล่นที่แตกต่างกัน เราภาคภูมิใจที่จะกล่าวว่านับตั้งแต่ Yamaha เปิดตัวเครื่องดนตรีที่ยอดเยี่ยมนี้ซึ่งออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการบรรเลงด้วยนิ้วมือ ก็ทำให้ผู้เล่นฝึกฝนทักษะของตนเองได้อย่างรวดเร็วและเล่นดนตรีที่ตนเองต้องการได้

ความท้าทายคือการเป็นที่หนึ่งของโลก

หลังจากที่เราตัดสินใจเรื่องรูปทรงและโครงสร้างของแพดแล้ว เรายังคงทุ่มเททำงานเพื่อทำให้เครื่องดนตรีนี้เล่นได้ง่ายขึ้น โดยการเลือกใช้แพดรูปทรงต่างๆ ทำให้เราได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่ซ่อนอยู่ เนื่องจากเซ็นเซอร์นั้นต้องทำงานแตกต่างกันไปในแต่ละแพด ความท้าทายในการเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้และทำให้เครื่องดนตรีนี้กลายเป็นเครื่องดนตรีที่ทุกคนสามารถเล่นได้อย่างสบายนับเป็นความท้าทายที่จะทำเครื่องดนตรีนี้กลายเป็นที่หนึ่งของโลก

Engineer: Sobajima

Miura:

มีการตอบสนองทางด้านกายภาพที่เกิดจากการวางโครงสร้างแผ่นเพลตคาร์บอนและทองที่จะตรวจจับ “สัญญาณ” เมื่อคุณกดแพด ระบบดังกล่าวได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และแพดที่มีโครงสร้างแบบกริด รวมถึงผลิตภัณฑ์ FGDP ซีรีส์ก็ใช้ระบบนี้เช่นกัน

Sobajima:

อย่างไรก็ตาม แพดในรูปแบบเหล่านี้มีขนาดและรูปทรงเดียวกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ควรให้แพดทุกตำแหน่งตอบสนองต่อสัญญาณที่มาจากการกดด้วยนิ้วมือได้เหมือนๆ กัน แต่ทว่า แนวทางของ FGDP นั้นแตกต่างไปจากนั้น เราเลือกใช้รูปทรงที่แตกต่างกันไปในแพดแต่ละตำแหน่ง แทนที่จะทำให้ทุกแพดมีรูปทรงและการจัดวางที่เหมือนกัน

แล้ว แพดในตำแหน่งต่างๆ ของ FGDP นั้นแตกต่างจากแพดทั่วไปอย่างไร มาดูตัวอย่างของแพดสำหรับเบสดรัมขนาดใหญ่กัน การปรับความไวในการตอบสนองเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากสำหรับแพดที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากความไวจะแตกต่างกันไปเมื่อคุณเคาะแพดในตำแหน่งที่แตกต่างกัน ผลที่ตามมาคือระดับความดังเสียงที่ได้จะต่างกัน แม้ว่าคุณจะเล่นด้วยวิธีเดียวกันก็ตาม

จริงๆ แล้ว สิ่งนี้เกิดจากปัจจัย (พารามิเตอร์) หลายๆ อย่าง ซึ่งเราต้องพิจารณาควบคู่ไปกับรูปทรงและขนาดของแพดที่แตกต่างออกไปเมื่อเปรียบเทียบกับแพดคอนโทรลเลอร์ที่มีโครงสร้างแบบกริด มีพารามิเตอร์อยู่ราวๆ 20 รายการที่ส่งผลต่อความไวในการตอบสนองของแพด ไม่ว่าจะเป็นขนาดของแพด ความแข็งแรงของนิ้วมือ ฯลฯ และพารามิเตอร์เหล่านี้มีองค์ประกอบกว่า 100 ล้านองค์ประกอบ

ด้วยเหตุนี้ เราจึงโฟกัสไปที่การปรับตั้งค่าการตอบสนองของแพดเพื่อให้คุณสามารถเคาะแพดได้ทุกตำแหน่งของแพดที่มีขนาดใหญ่สุดและยังคงได้เสียงที่ดี

Engineer: Ota

Ota:

ผมควรกล่าวถึงต้นแบบแรกที่เราได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นมา เสียงที่ออกมานั้นไม่เป็นหนึ่งเดียวเสียเลย เราได้ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหานี้โดยการสร้างต้นแบบซึ่งเราได้ปรับปริมาณ ความหนาแน่น ความหนาของหมึกที่ฉีดเข้าไปในชั้นคาร์บอน รวมทั้งช่องว่างของแผ่นเพลตทองในชั้นที่ชุบทองด้วยใช้สัญญาณไฟฟ้า และทดลองสิ่งอื่นๆ อีกมากมาย แต่ละครั้งเราจะผลิตแผ่นเพลตเดียวกันนี้จำนวน 20 หรือ 30 แผ่นภายใต้เงื่อนไขเดียวกันแล้วทำการตรวจวัดค่า ในขั้นตอนดังกล่าว เราพบว่ามีความไม่สอดคล้องเกิดขึ้นแม้จำเป็นแผ่นเดียวกันก็ตาม เราจึงใช้ร่องรอยนี้เพื่อเจาะลึกและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

และจบลงด้วยผลิตภัณฑ์ต้นแบบกว่า 1,000 ชิ้น

Sobajima:

เสียงที่เกิดจากการเคาะแพดเดียวกันด้วยแรงกดที่เท่ากันนั้นต้องออกมาสอดคล้องกัน รวมถึงคุณภาพเสียงต้องคงที่ เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะตัดสินระดับคุณภาพเสียงที่กำหนดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำเนื่องด้วยเงื่อนไขทางด้านกายภาพ อารมณ์ และความแตกต่างรายบุคคลซึ่งส่งผลต่อแรงที่เคาะแพดและการรับรู้เสียงที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้สร้างเครื่องจักรพิเศษขึ้นมาซึ่งจะสามารถเคาะด้วยแรงที่เท่ากันทุกครั้งเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบ

Sobajima lifting the FGDP-50 and speaking

Miura:

เราสร้างเครื่องทดสอบพิเศษนี้ขึ้นมาเพื่อให้มั่นใจว่าเซ็นเซอร์ต่างๆ ทำงานได้อย่างเสถียรก่อนที่จะเล่นเครื่องดนตรีดังกล่าวเพื่อประเมินว่าเครื่องดนตรีนั้นให้ความรู้สึกที่ดีหรือไม่ ในขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นมนุษย์ที่ลองเล่นเครื่องดนตรีนี้ ไม่ใช่เครื่องจักร ดังนั้นเราจึงทำการวิจัยร่วมกับกลุ่มคนอีกหลายๆ คนซึ่งจะรวมถึงศิลปิน โดยลองให้พวกเขาเล่นเครื่องดนตรีและดูว่ารู้สึกอย่างไร

ผมขอเสริมอีกว่าเราพบความแตกต่างของนิ้วมือมนุษย์แต่ละคน ปลายนิ้วมือของเรามีความอ่อนนุ่มแต่จะถูกคลุมไว้ด้วยเล็บมือ และแน่นอนว่าขนาด ความหนาและความแข็งมือของนิ้วมือแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้งานอาจคิดว่าพวกเขาเคาะแพดหนึ่งครั้ง แต่ในความเป็นจริงแล้วปลายนิ้วอาจมีการ “เด้ง” เหมือนกับลูกบอลและทำให้มีการเคาะหลายๆ ครั้ง อีกตัวอย่าง เมื่อผู้ใช้งานใช้มุมองศาของ Aftertouch ที่แตกต่างออกไปเพื่อกดลงบนแพด แทนที่จะเป็นการเคาะ เราไม่สามารถกล่าวได้ว่าการพัฒนาเครื่องดนตรีนี้สิ้นสุดลงจนกว่าเราจะสามารถรับรู้ได้ถึงความซับซ้อนและไม่สามารถคาดเดาได้ของการกดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ และแปลงสิ่งดังกล่าวให้เป็นสัญญาณ Yamaha ได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีการรับรู้ของกลองแพดไฟฟ้่าสำหรับกลอง DTX ของเรา แต่กลองแพดไฟฟ้ารุ่นดังกล่าวนั้นตีด้วยไม้กลองที่แข็ง แรงกดจากนิ้วมือของมนุษย์มีความซับซ้อนหลายอย่าง เหมือนที่กล่าวไว้ข้างต้น อย่างไรก็ตาม เราจะสร้างสรรค์นวัตกรรมในขั้นตอนการออกแบบและพัฒนานี้ได้ด้วยเทคโนโลยีที่จะตรวจจับการเคาะแพดด้วยนิ้วมือ แม้ว่าเราจะพบอุปสรรคอยู่บ้างในขั้นตอนการออกแบบและพัฒนา แต่ความแม่นยำของเครื่องดนตรีหลังจากเสร็จสมบูรณ์นั้นก็เป็นสิ่งที่เราภาคภูมิใจ

การแสวงหาเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ทางดนตรี

แต่ละคนเล่นกลองในรูปแบบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบทเพลงและแนวเพลง โดยมีทั้งมือกลองที่เล่นตามปกติและมือกลองที่บรรเลงด้วยนิ้วมือ มือกลองบางคนได้ผ่านการฝึกฝนจนมีทักษะการเล่นที่น่าทึ่ง ในขณะที่บางคนนั้นอยู่ระหว่างการฝึกฝนและพัฒนา นอกจากนี้ ผู้เล่นบางคนมีความแข็งแรงทางกายภาพที่เหนือกว่าคนอื่นๆ

FGDP เป็นเครื่องดนตรีที่จะตอบสนองความต้องการทางด้านดนตรีที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการเล่นที่แตกต่างกัน รวมถึงความหนักและความเร็วในการเล่นของมือกลองที่แตกต่างกันอีกด้วย

Four members of the pad development team

Miura:

FGDP มาพร้อมการตั้งค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสบายและความรู้สึกในการเล่นเครื่องดนตรี การตั้งค่าเหล่านี้จะทำให้คุณสามารถเล่นเสียงดังโดยไม่จำเป็นต้องออกแรงเคาะแพด หรือเล่นด้วยระดับความดังเสียงที่เท่ากันไม่ว่าจะใช้แรงกดแพดมากน้อยเพียงใดก็ตาม ผมอยากเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจากมุมมองทางดนตรี แนวเพลงบางประเภท อย่างเช่น EDM นั้นมีเสียงที่หนักหน่วง ในขณะที่แนวเพลงอื่นๆ อย่างแจ๊สนั้นมีความละเอียดมากกว่า

ไม่ว่าจะเป็นอะคูสติกหรือไฟฟ้า คุณจะต้องสามารถควบคุมความสมดุลระหว่างความหนักเบาในการเล่นและเสียงที่เกิดขึ้น ให้เหมาะกับแนวเพลงที่คุณเล่น

การเล่นกลองในฐานะเป็นเครื่องดนตรีนั้นต้องใช้ความสามารถในการรัวกลองที่รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม กลองที่เล่นด้วยนิ้วแตกต่างจากกลองอะคูสติกเพราะเสียงที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับการตรวจจับสัญญาณที่ถูกต้องของแพด เหมือนกับที่เราคุยกันก่อนหน้านี้ สำหรับแพดคอนโทรลเลอร์แบบเดิมๆ หากคุณเล่นด้วยเทคนิคการรัวกลอง แพดจะตรวจจับว่าเป็น Aftertouch และเสียงนั้นจะถูกข้ามและไม่สม่ำเสมอ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ หากคุณไม่มีทักษะการเล่น คุณก็ไม่สามารถเล่นเทคนิคการรัวกลองได้ดี

เนื่องจากเราได้ออกแบบ FGDP ให้มาพร้อมชุดแพดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการบรรเลงด้วยนิ้วมือ แพดจึงไม่ตรวจจับการรัวกลองของคุณว่าเป็น Aftertouch แม้ว่าคุณจะเล่นช้ากว่าจังหวะเล็กน้อยก็ตาม ระบบจะสามารถตรวจจับการรัวกลองได้อย่างถูกต้อง หากคุณเคาะแพดในขณะที่นิ้วอื่นๆ แตะแพดอยู่ แพดก็ยังคงเล่นเสียงดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าคุณจะยังไม่ใช่ผู้เล่นที่มีความชำนาญสูง คุณก็สามารถใช้เทคนิคการรัวกลองด้วยความเร็วสูงได้อย่างแม่นยำราวกับผู้เชี่ยวชาญ และระบบจะสร้างเสียงรัวกลองขึ้น เราหวังว่าคุณจะลองใช้เทคนิคการรัวกลองบน FGDP และสัมผัสได้ถึงความรู้สึกดังกล่าว

บทสัมภาษณ์วิศวกร

  • Link banner to FGDP Series engineer interview page

การวางแผนการผลิต

  • Link banner to Product Planning page

การสร้างสรรค์เสียง

  • Link banner to Sound Creation page

ขนาดกะทัดรัด ความแข็งแรงทนทานและความคล่องตัว

  • Link banner to Compactness, Durability and Mobility page