การวิเคราะห์คลื่นเสียง

รูปทรง โครงสร้าง วัสดุที่ใช้ทำ ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ ในดีไซน์ของเครื่องดนตรีที่ให้เสียงล้วนแล้วแต่มีผลต่อเสียงที่ได้ เพราะเหตุนี้ Yamaha จึงพัฒนาเครื่องดนตรีโดยใช้เทคโนโลยีการวัดและจำลองเพื่อศึกษารูปแบบการสั่นสะเทือนของชิ้นส่วนต่างๆ รวมไปถึงกระบวนการเกิดเสียงตามที่เราได้ยิน

งานวิเคราะห์เสียงที่ Yamaha

Yamaha เป็นผู้ผลิตเครื่องดนตรีรายใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งยังมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนามากมายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีอะคูสติก เครื่องดนตรีดิจิตอล รวมไปถึงลำโพงและการฟังสำหรับการใช้งานหลากหลายรูปแบบ

คีย์บอร์ดดิจิตอล

Yamaha ออกแบบระบบเสียงให้กับเครื่องยนต์รถ LEXUS LFA

ระบบเสียง HRTF

งานวิเคราะห์เสียงทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัย/ออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อคุณภาพเสียงที่ดียิ่งขึ้น

ในส่วนงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเสียง เรายังคงมุ่งมั่นค้นหาคำนิยามและศึกษาปริมาณในความสัมพันธ์ระหว่างรายละเอียดงานดีไซน์กับการสั่นสะเทือน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุกับคุณลักษณะทางด้านเสียง

งานวิเคราะห์เสียงทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัย/ออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อคุณภาพเสียงที่ดียิ่งขึ้น

งานวิจัยและออกแบบผลิตภัณฑ์กลุ่มกีต้าร์อะคูสติก

แม้จะมีรูปลักษณ์ที่เรียบง่าย แต่แท้ที่จริงแล้วกีต้าร์อะคูสติกมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนและต้องอาศัยนักออกแบบเสียงในการพิจารณาปัจจัยต่างๆ

เรามุ่งมั่นจัดระเบียบองค์ความรู้และค้นหาคำนิยามในความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของงานออกแบบกีต้าร์กับคุณลักษณะทางด้านเสียงเพื่อส่งเสริมการทำงานของทีมนักออกแบบและช่างทำกีต้าร์ โดยนำเทคนิคการวัดและระบบวิเคราะห์ตัวเลขมาใช้ร่วมกับความรู้และประสบการณ์ของทีมนักออกแบบและทีมช่าง เพื่อแสดงคุณลักษณ์ด้านเสียงและการสั่นสะเทือนในรูปแบบภาพสามมิติ และบ่งชี้ว่าจุดปรับเปลี่ยนใดในงานออกแบบที่จะทำให้เราได้คุณลักษณะของเสียงตามที่ต้องการ

1) การวัดค่าคุณสมบัติทางเสียงและการสั่นสะเทือน

Yamaha มีเทคโนโลยีวิเคราะห์คุณสมบัติทางเสียงที่ก้าวล้ำ และนำไปใช้ในการวิเคราะห์คุณลักษณะทางเสียงในระดับลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์

1) การวัดค่าคุณสมบัติทางเสียงและการสั่นสะเทือน

2) การจำลองแบบ

Yamaha พัฒนาเทคนิคการจำลองที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของเราเองสำหรับใช้ในงานออกแบบกีต้าร์ เพื่อให้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมและออกแบบเสียงของกีต้าร์ในรูปแบบเสมือนก่อนที่จะจรดสิ่วลงบนแผ่นไม้เป็นครั้งแรก

เทคโนโลยีการจำลองช่วยให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ทางกายภาพเบื้องหลังเสียงที่ออกมาจากกีต้าร์ ทำให้เราค้นพบคุณลักษณะทางกายภาพที่แน่ชัดอันเป็นที่มาของกีต้าร์ชั้นเลิศ เราจึงนำคุณลักษณ์เหล่านี้มาใช้กับต้นแบบผลิตภัณฑ์จริง ประกอบกับการทดสอบฟังเสียงเพื่อค้นหารูปแบบเสียงที่สมบูรณ์ แม้เทคนิคการจำลองผ่านคอมพิวเตอร์จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าการลองผิดลองถูกในการระบุตำแหน่งที่แน่ชัดของคุณลักษณะทางเสียงที่ต้องการ แต่ถ้าเป็นเรื่องการตัดสินใจเลือกเสียงที่ไพเราะ ย่อมไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการมีหูที่ดี

3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์

ในงานพัฒนากีต้าร์ใหม่รุ่น L, FG, A Series และ CSF เราใช้การจำลองสัดส่วนของผลิตภัณฑ์จริงประกอบกับการทดสอบฟังเสียงที่ได้ เพื่อค้นหาเสียงที่ใช่และโครงสร้างที่เหมาะกับกีต้าร์แต่ละตัว

3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์

การวิจัยและพัฒนา

งานฝีมือ

การควบคุมคุณภาพ

การวิเคราะห์คลื่นเสียง

โครงสร้างของกีต้าร์อะคูสติก

โครงสร้างของกีต้าร์ไฟฟ้า