ประกาศความเป็นส่วนตัวสำหรับลูกค้า
(Customer Privacy Policy)
ของบริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จำกัด

บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จำกัด (ซึ่งต่อไปในเอกสารนี้จะเรียกว่า "ยามาฮ่า") ได้จัดทำประกาศความเป็นส่วนตัวสำหรับลูกค้า (Customer Privacy Policy) ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย ในการดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ในหรือนอกประเทศไทย โดยยามาฮ่าในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย มีความยึดมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ มีจริยธรรม และเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของลูกค้าทุกท่าน ด้วยความตระหนักถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าแต่ละราย (“ ลูกค้า” หรือ “ท่าน”) ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่ซื้อผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการของบริษัท ซึ่งครอบคลุม ถึงผู้ที่เคยเป็นลูกค้า ลูกค้าปัจจุบันและผู้ที่อาจเป็นลูกค้าในอนาคต

โดยประกาศความเป็นส่วนตัวสำหรับลูกค้า (Customer Privacy Policy) นี้ไม่บังคับใช้กับการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือกิจกรรมในครอบครัว การดำเนินงานของ หน่วยงานรัฐด้านความมั่นคง กิจกรรมสื่อ ศิลปกรรม วรรณกรรม สภานิติบัญญัติ กระบวนการยุติธรรม และธุรกิจข้อมูลเครดิต ทั้งนี้ยังคงต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ตามมาตรฐานที่กำหนด

1. ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่บริษัทเก็บรวบรวม

ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของบุคคลที่ถึงแก่กรรมแล้ว ทั้งนี้ ข้อมูลส่วนบุคคลที่ยามาฮ่า จัดเก็บแบ่งออกเป็น 8 หมวดหมู่ ดังนี้

  • ข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งหมายถึงข้อมูลที่ทำให้สามารถระบุตัวตนของท่านได้
  • ข้อมูลสำหรับการติดต่อ
  • ข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำธุรกรรม
  • ข้อมูลภาพจากกล้องวงจรปิด
  • ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามข้อมูลกับทางยามาฮ่า
  • ข้อมูลที่เกิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมกับยามาฮ่า
  • ข้อมูลที่ได้จากการใช้ซอฟต์แวร์หรืออินเทอร์เน็ต
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว
  • ข้อมูลอื่นๆ รวมถึงที่ไม่ใช่ข้อมูลลูกค้า

2. วัตถุประสงค์และฐานทางกฎหมายที่บริษัทเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน

ยามาฮ่าดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์และฐานทางกฎหมายที่ชัดเจน โดยวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินการแบ่งออกเป็น 4 หมวดหมู่ ดังนี้

2.1 การให้บริการลูกค้า เช่น

  • - เพื่อการติดต่อหรือตอบข้อซักถามเกี่ยวกับสินค้าและบริการ รวมถึงการบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลลูกค้า และการส่งต่อข้อมูลให้กับพันธมิตรทางธุรกิจ
  • - เพื่อการให้บริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Yamaha Music School เช่น การจัดทำโปรไฟล์เพื่อประเมินการเรียนการสอน การสอบวัดผลและการออกใบประกาศนียบัตร
  • - เพื่อการติดต่อกลับหรือการจัดส่งหนังสือบอกกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องกับผลการสอบ รวมถึงการออกใบประกาศนียบัตร
  • - เพื่อการดำเนินการซื้อขายหรือการทำสัญญาซื้อขาย รวมถึงการจัดทำสัญญาเช่าทรัพย์สิน
  • - เพื่อการจัดหา การบำรุงรักษา และการคุ้มครองสินค้าและบริการ รวมถึงการใช้แบบสอบถาม การให้บริการหลังการขาย และการดูแลคุ้มครองลูกค้า
  • - เพื่อการดำเนินการด้านการให้บริการภายในระยะเวลารับประกัน และการดูแลหลังการขายหลังจากการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของยามาฮ่า
  • - เพื่อการตอบข้อซักถามและการจัดทำหนังสือบอกกล่าวเกี่ยวกับสินค้าและบริการของยามาฮ่าที่ท่านร้องขอ รวมถึงการติดต่อเมื่อต้องส่งมอบสินค้า
  • - เพื่อการดำเนินกิจกรรมด้านการบริการและการจัดการเรื่องการซ่อมแซมในระหว่างระยะเวลารับประกัน และการดูแลหลังการขาย รวมถึงการจัดการเรื่องการซ่อมแซมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของยามาฮ่า
  • - เพื่อสำรวจความพึงพอใจและการประเมินผลหลังจากการใช้สินค้าหรือบริการ เพื่อการบริหารจัดการข้อร้องเรียน การปรับปรุงการให้บริการ รวมถึงการวิเคราะห์ วิจัย หรือการจัดทำรายงานเพื่อการใช้งานภายในองค์กรของยามาฮ่า

2.2 การจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น

  • - เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรม แคมเปญ หรือการประชุมที่จัดขึ้นโดยยามาฮ่า
  • - เพื่อการยืนยันตัวตน / เพื่อการยืนยันสิทธิ์
  • - เพื่อการคัดเลือกและตัดสินผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
  • - เพื่อการติดต่อกลับหรือการจัดส่งหนังสือบอกกล่าว และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดงาน รวมถึงการจัดส่งหนังสือหรือการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดอบรมครั้งถัดไป
  • - เพื่อการจัดเก็บข้อมูลของผู้เข้าร่วมการอบรม สัมมนา และ Workshop

2.3 วัตถุประสงค์เพื่อการตลาดหรือการโปรโมททางการตลาด เช่น

  • - เพื่อการดำเนินการทางด้านการตลาดของยามาฮ่า โดยจะต้องได้รับความยินยอมภายใต้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • - เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการพาณิชย์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวอาจถูกนำไปเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์
  • - เพื่อการเก็บรวบรวม ประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูลและการติดต่อสื่อสารทางการตลาด รวมถึงการนำมาใช้ในกิจกรรมด้านการตลาดในอนาคต
  • - เพื่อการบริหารจัดการภายในของบริษัท และใช้สำหรับการประชาสัมพันธ์ รวมถึงการเผยแพร่บันทึกการแสดงสดไปยังสาธารณะผ่านช่องทางต่างๆ

2.4 การปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น

  • - เพื่อการใช้งานกล้องวงจรปิด การควบคุมการเข้า-ออกสถานที่ของยามาฮ่า และเพื่อสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัย
  • - เพื่อการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการปรับปรุงสินค้าของยามาฮ่า ซึ่งต้องได้รับความยินยอมภายใต้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • - เพื่อการจัดทำฐานข้อมูลลูกค้า การติดตามทวงถามหนี้สิน การฟ้องร้องดำเนินคดี หรือการใช้ข้อมูลในกระบวนการทางกฎหมายอื่นๆ

โดยทั่วไปบริษัทจะดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยการตลาด วิเคราะห์ จัดทำข้อมูลทางสถิติ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวท่าน (Profiling) จัดทำแบบจำลองและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการ การจัดจำหน่าย ระบบ และการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทจะอาศัยฐานทางกฎหมายว่าด้วยประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของท่านเป็นสำคัญ โดยออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการ ออกกลยุทธ์และแคมเปญผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของท่าน ปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจและเพื่อปรับเนื้อหาของบริษัท ยามาฮ่า ให้เหมาะกับความชอบของท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งประเมินและจัดการความเสี่ยงซึ่งอยู่ในความคาดหมายของท่าน

และในบางกรณี บริษัทจะดำเนินการขอความยินยอมจากท่านก่อนการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลในบางกิจกรรมที่ไม่สามารถอาศัยฐานทางกฎหมายอื่นได้ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการใหม่ โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งอื่น ซึ่งอาจเกินความคาดหมายของท่านว่าบริษัทจะดำเนินการดังกล่าว หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการของบริษัทอื่น ๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับท่าน

ฐานทางกฎหมายที่บริษัทเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน

1. ฐานความยินยอม (Consent)

หมายถึง การใช้ความยินยอมเป็นฐานในทางกฎหมายสำหรับการวิจัยหรือสถิติได้นั้น ความยินยอมจะต้องมีองค์ประกอบครบเงื่อนไขในทางกฎหมาย กล่าวคือ ความยินยอมจะต้องให้โดยอิสระ (Freely given) มีความเฉพาะเจาะจง มีการแจ้งวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน และไม่กำกวม(Unambiguous) มิเช่นนั้น การให้ความยินยอมจะไม่ผูกพันเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ความยินยอมนั้นจะให้ไว้ในรูปแบบใดก็ได้ เช่น การให้ความยินยอมเป็นหนังสือที่เป็นกระดาษ การให้ความยินยอมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือการให้ความยินยอมด้วยวาจา กรณีการขอความยินยอมในปัจจุบัน เช่น การสมัครแข่งขัน การสอบ การทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นต้น

2. ฐานประโยชน์อันชอบธรรม (Legitimate interest)

หมายถึง การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ในการวิจัยหรือสถิติ อาจดำเนินการได้บนฐานประโยชน์อันชอบธรรม (Legitimate Interest) โดยต้องผ่านการประเมินความเหมาะสมและสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับสิทธิของเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ การวิจัยดังกล่าวครอบคลุมถึงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สถิติ และการวิจัยการตลาด (Marketing Research)

3. ฐานปฏิบัติตามสัญญา

หมายถึง การเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่อ้างอิงฐานสัญญา ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถอ้างอิงฐานสัญญาได้เมื่อการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในลักษณะ ดังต่อไปนี้

1. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (บริษัทฯ) จำเป็นต้องเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

2. การเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ เช่น เพื่อดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญา เพื่อปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญา กรณีที่ใช้ฐานปฏิบัติตามสัญญา เช่น การให้เช่าเปียโนระยะยาว เป็นต้น

4. ฐานการปฏิบัติตามกฎหมายอื่นของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

หมายถึง การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 24 (6) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) ในกรณีที่การประมวลผลดังกล่าวเป็นไปเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในการดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว

3. บริษัทอาจเปิดเผยหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้บุคคลหรือหน่วยงานใดบ้าง

ยามาฮ่าอาจเปิดเผยหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจ การให้บริการ หรือการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยยามาฮ่ามีผู้ให้บริการในระบบต่าง ๆ ดังนี้

1. SMY Connect / YMS Connect (Siam Music Members)

2. ระบบดูแลข้อมูลลูกค้า

โดยผู้ให้บริการระบบดังกล่าวอาจสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลในระบบปฏิบัติการได้ในขอบเขตที่จำเป็นต่อการให้บริการ อย่างไรก็ตามยามาฮ่าได้ดำเนินการจัดทำสัญญาและกำหนดเงื่อนไขในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลกับผู้ให้บริการแต่ละราย เพื่อให้มั่นใจว่าการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินไปอย่างปลอดภัย มีมาตรฐานการรักษาความเป็นส่วนตัวและการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องส่งต่อหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ ยามาฮ่าได้ดำเนินการกำหนดมาตรการควบคุมที่สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมาย ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อปกป้องสิทธิของเจ้าของข้อมูลอย่างเคร่งครัด

4. คุกกี้และวิธีการใช้คุกกี้

ยามาฮ่ามีการจัดเก็บข้อมูลผ่านคุกกี้ประเภทต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ โดยคุกกี้ที่บริษัทใช้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. คุกกี้ที่จำเป็น

2. คุกกี้ประสิทธิภาพ

3. คุกกี้กำหนดเป้าหมาย

4. คุกกี้การใช้งาน

5. ระยะเวลาที่บริษัทเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน

ยามาฮ่าจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นระยะเวลาเท่าที่จำเป็น (ไม่เกิน 10 ปี) เพื่อ วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในเอกสารฉบับนี้ โดยระยะเวลาการเก็บรักษาจะพิจารณาจากความจำเป็นในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามวัตถุ ประสงค์ที่กำหนด รวมถึงอาจเก็บรักษาต่อเนื่องตามระยะเวลาที่จำเป็น เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อายุความทางกฎหมาย การก่อตั้งสิทธิเรียกร้องการปฏิบัติตามหรือการ ใช้สิทธิเรียกร้อง รวมถึงการต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับนโยบาย และข้อกำหนดภายในของยามาฮ่า

การทำลายข้อมูลส่วนบุคคลจะดำเนินการด้วยวิธีการที่เหมาะสมและปลอดภัย โดยข้อมูลในรูปแบบเอกสารจะถูกทำลายด้วยเครื่องย่อยเอกสาร ส่วนข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลจะดำเนินการลบไฟล์ข้อมูลออกจากระบบหรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เพื่อป้องกันการเข้าถึงหรือการนำข้อมูลกลับมาใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต

6. สิทธิของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

  • 1. สิทธิในการถอนความยินยอม

    หมายถึง เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเพิกถอนความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตนได้ทุกเมื่อ โดยการถอนความยินยอมต้องทำได้ง่ายและไม่ซับซ้อน เช่นเดียวกับการให้ความยินยอม ทั้งนี้การถอนความยินยอมจะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ให้ความยินยอมไปแล้วก่อนหน้านั้น

  • 2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและขอรับสำเนา

    หมายถึง เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งข้อมูลที่สามารถร้องขอได้ มีดังนี้

    • วัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
    • ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคล
    • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
    • ระยะเวลาที่จัดเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล หรือเกณฑ์ในการกำหนดระยะเวลาจัดเก็บรักษา
    • สิทธิในการแก้ไขข้อมูล ลบข้อมูล ระงับหรือคัดค้านมิให้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
    • สิทธิในการยื่นร้องขอใช้สิทธิต่อบริษัทในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
    • แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล (กรณีได้รับมาจากแหล่งอื่น)
  • 3. สิทธิในการโอนข้อมูลส่วนบุคคล

    หมายถึง เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล โอนข้อมูลส่วนบุคคลของตนไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายอื่น หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยข้อมูลดังกล่าวต้องอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานได้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นข้อมูลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ไว้กับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเดิม ทั้งนี้ สิทธิดังกล่าวจะสามารถใช้ได้ก็ต่อเมื่อไม่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น

  • 4. สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

    หมายถึง สิทธิที่เจ้าของข้อมูลสามารถใช้เมื่อไม่ต้องการให้ผู้ควบคุมข้อมูลดำเนินการกับข้อมูลของตนในบางกรณี ตามมาตรา 32 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เจ้าของข้อมูลมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตนเมื่อใดก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

    • การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น
    • การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อการตลาดแบบตรง
    • การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ

    หากเจ้าของข้อมูลใช้สิทธิคัดค้าน ผู้ควบคุมข้อมูลต้องหยุดการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นทันที ยกเว้นในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลอันชอบด้วยกฎหมายที่สำคัญยิ่งกว่าหรือเป็นการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย

  • 5. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของตน

    เหตุที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอาจขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล มีดังนี้

    • ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไม่มีความจำเป็นสำหรับการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลตามวัตถุประสงค์ที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอีกต่อไป
    • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และไม่สามารถอ้างฐานในการประมวลผลอื่นได้
    • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทำการคัดค้านการประมวลผลที่ใช้ฐานภารกิจรัฐหรือประโยชน์อันชอบธรรมแล้วผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อาจแสดงให้เห็นว่าการประมวลผลข้อมูลมีความจำเป็นในการปฏิบัติภารกิจรัฐ หรือประโยชน์อันชอบธรรมนั้นไม่สำคัญน้อยไปกว่าสิทธิเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และกรณีไม่ใช่การประมวลผลข้อมูลเพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย
    • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลคัดค้านการประมวลผลที่มีลักษณะเพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง
    • การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถปฏิเสธสิทธิในการขอลบดังกล่าวได้หากปรากฏว่า การเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลนั้นได้แสดงให้เห็นว่าการเก็บรักษาข้อมูลเหล่านั้นต่อไปมีความจำเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ในการวิจัยหรือสถิติ หรือเพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
      การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อสำคัญคือการเก็บข้อมูลเหล่านั้นยังมีความจำเป็นอยู่จึงจะปฏิเสธโดยอาศัยเหตุผลด้านการวิจัยหรือสถิติได้
  • 6. สิทธิในการขอให้ระงับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

    หมายถึง เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการขอให้ระงับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของตน เหตุที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอาจขอให้ระงับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้

    • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโต้แย้งความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคล และอยู่ในระหว่างการตรวจสอบความถูกต้อง
    • การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ได้ร้องขอให้มีการห้ามมิให้ประมวลผลแทนการขอให้ลบข้อมูลส่วนบุคคล
    • บริษัทไม่มีความจำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวต่อไป แต่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้เรียกร้อง ให้บริษัทเก็บข้อมูลไว้เพื่อใช้ในการก่อตั้ง ใช้ หรือป้องกันสิทธิเรียกร้องทางกฎหมายของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
    • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลคัดค้านการประมวลผลข้อมูลเพื่อรอการพิสูจน์ข้ออ้างตามกฎหมายว่ามีสิทธิในการประมวลผลข้อมูลเหนือกว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่
  • 7. สิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล

    หมายถึง เป็นสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในการร้องขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลแก้ไขข้อมูลของตนให้ถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดหรือความไม่ถูกต้องของข้อมูล

    วิธีการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถใช้สิทธิของตน ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น สิทธิขอเข้าถึงข้อมูล ขอแก้ไขข้อมูล ขอถอนความยินยอม ขอให้ลบหรือทำลาย ข้อมูลหรือสิทธิอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้โดยการติดต่อเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO)

เหตุแห่งการปฏิเสธคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

ยามาฮ่าอาจปฏิเสธคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีดังต่อไปนี้

  • การปฏิเสธตามกฎหมายหรือคำสั่งศาล
  • การร้องขอสำเนาหรือการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลอาจถูกปฏิเสธ หากการดำเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบในทางลบต่อสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เช่น การเปิดเผยข้อมูลที่มีความลับทางการค้า (Trade Secret) หรือข้อมูลที่มีทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่นรวมอยู่ในข้อมูลดังกล่าว

กรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีการดำเนินการร้องขอที่เกินความจำเป็น อาจคิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามสิทธิแก่ผู้ร้องขอตามสมควร ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถปฏิเสธคำร้องขอจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และให้บันทึกการปฏิเสธคำร้องขอพร้อมด้วยเหตุผล

หมายเหตุ ข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดเก็บไว้ก่อนการบังคับใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2562 สามารถนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมที่ได้แจ้งไว้ได้ อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ประสงค์ให้ใช้งานข้อมูลดังกล่าวตามวัตถุประสงค์เดิมสามารถ ใช้สิทธิคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามที่กฎหมายกำหนด

7. มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย

ยามาฮ่าในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ได้จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย การเข้าถึง การใช้ การแก้ไข หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต มาตรการดังกล่าวครอบคลุม 3 ด้านหลัก ดังนี้

  • มาตรการเชิงองค์กร
  • มาตรการเชิงเทคนิค
  • มาตรการเชิงกายภาพ

ทั้งนี้ ยามาฮ่าได้ดำเนินการพิจารณาความเสี่ยงและลักษณะของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย รวมถึงการควบคุมการเข้าถึง การจัดการสิทธิผู้ใช้งาน และการติดตั้งระบบตรวจสอบย้อนหลัง ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ภายในองค์กรเกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมทั้งปรับปรุงมาตรการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยน แปลงของเทคโนโลยีหรือเมื่อเกิดเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

8. ติดต่อบริษัท

หากมีเหตุอันควรสงสัยหรือเชื่อว่ามีการละเมิดการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล หรือในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลประสงค์จะร้องเรียนหรือใช้สิทธิของต้นตาม นโยบายฉบับนี้ หรือตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลของยามาฮ่าผ่านข้อมูลการติดต่อที่ระบุไว้ด้านล่าง

บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จำกัด (สำนักงานใหญ่)

เลขที่ 414 อาคารสยามปทุมวัน เฮ้าส์ ชั้น 3, 5 และ 12 ถนนพญาไท

แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ที่อยู่อีเมล dpo@yamaha.co.th

โทร (02) 215-2626